วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

IS สิงหาคม 2558

เค้าโครงงานวิจัย การศึกษาอิสระ (IS)
นายกฤตพล  เสาโกศล

หัวข้อ

ภาษาไทย : "ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี"

ภาษาอังกฤษ :Factors related to operation database  of Personnal in the subdistrict  HeaLth Promotion Hospital, district zone 4 ,Udonthani Province.

 

 




ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล
ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน 4  จังหวัดอุดรธานี
Factors related to operation database
 of Personnal in the subdistrict  HeaLth Promotion Hospital,
 district zone 4 ,Udonthani Province.

เค้าโครงสารนิพนธ์

ของ

กฤตพล  เสาโกศล
                                     

สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตาม
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารงานสาธารณสุข
บัณฑิตวิทยาลัย  
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
พุทธศักราช 2558






บทที่  1

บทนำ

1.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                     การยกระดับคุณภาพประชากร ในด้านการเสริมสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญด้านหนึ่งคือ การลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพแบบองค์รวม โดยการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพ และมีการส่งเสริมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ของประเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งตอบสนองต่อการดำรงชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการทำงาน มาปรับใช้จึงเป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศ ซึ่งประเทศใดที่มีการใช้เทคโนโลยีที่ล่าสมัยย่อมจะกลายเป็นผู้ที่ล้าหลัง ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้ ดังนั้นในการพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศ ในการปรับเปลี่ยนการผลิต จากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เงินทุน และแรงงานที่มีผลิตภาพต่ำ ไปสู่การใช้ความรู้และความชำนาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ล้ำสมัย และสนองตอบความต้องการของคนได้อย่างแท้จริง (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ,2555-2559)
กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานในสังกัดได้นำโปรแกรมระบบงาน(Application Software) มาเพื่อรองรับข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนเพื่อเป็น ฐานข้อมูล เก็บรวบรวม วิเคราะห์ เพื่อพัฒนาองค์กร และสนับสนุนระบบบริการแก่ประชาชน โปรแกรมระบบงานที่ใช้งานในกระทรวงสาธารณสุข มีทั้งการโปรแกรมที่หน่วยงานต่างๆในกระทรวงสาธารณสุขพัฒนาใช้เอง โปรแกรมที่หน่วยงานภาครัฐอื่นๆจัดหาให้ เช่น โปรแกรม GFMIS และโปรแกรมที่หน่วยงานจัดซื้อจากบริษัทเอกชน โปรแกรมระบบงานที่ใช้ในปัจจุบัน ในหน่วยงานระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและศูนย์สุขภาพชุมชน(PCU) มีที่มา จาก 2 กลุ่มหลัก ประกอบด้วยกลุ่มที่ผลิตโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ (license) ได้แก่โปรแกรม HOSxp PCU ของบริษัทบางกอกเมดิคอลซอฟต์แวร์จำกัด(BMS) และกลุ่มผลิตโปรแกรมใช้ได้ฟรีไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ใดๆ (Open Source) ได้แก่ โปรแกรมระบบฐานข้อมูลJHCIS เป็นโปรแกรม ส่งออก 21 และ 43 แฟ้ม และส่งข้อมูล OP/PP Individaul ให้ สปสช.ได้ สนับสนุนโดย ทีมงาน JHCIS ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งความสามารถของทั้ง 2 โปรแกรม เป็นโปรแกรมระบบงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและศูนย์สุขภาพชุมชน ที่ใช้งานได้ครอบคลุมข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้อย่างเป็นระบบ สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อรายงานต่างๆ ทั้งที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต้องการ แก้ปัญหาต่างๆ ของโปรแกรมHCISเดิม(โปรแกรมระบบฐานข้อมูลของสถานีอนามัย) สามารถใช้งานได้บนระบบ ปฏิบัติการ  ทั้ง Windows, Ubuntu, Linux ฯลฯ (แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข ระยะปี2556-2565)

         จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุดรธานีที่ผ่านมา พบว่ายังมีปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งข้อจำกัดในการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เช่น จากสถิติการจัดส่งรายงานระบบ 43 แฟ้ม พบว่า จังหวัดอุดรธานีมีความทันเวลา ร้อยละ 78.0 (สสจ.อุดรธานี,2557) มีการปรับเปลี่ยนมาใช้แฟ้มครอบครัว(Family Folder)แบบอิเลคโทรนิค(ยกเลิกการใช้แฟ้มเอกสาร) มีเพียง ร้อยละ 0.45 ในด้านบุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้โปรแกรมยังขาดทักษะในการใช้งาน การบันทึกข้อมูลและการออกรายงาน ถึงแม้จะมีการอบรมบ่อยครั้ง ซึ่งอาจจะมีข้อจำกัดด้านบุคคล เช่น ตำแหน่งงาน อายุงาน ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ภาระงานที่เพิ่มขึ้น ขาดแรงจูงใจในการทำงาน จนไม่มีเวลาคีย์ข้อมูล ส่วนด้านวัสดุอุปกรณ์ ทั้งจังหวัดมีการใช้เครื่องหลัก(SEVER) ที่เป็นไปตามมาตรฐานตัวชี้วัด(KPI) ร้อยละ 19.1  (สสจ.อุดรธานี มาตรฐานตัวชี้วัด KPI 2558) ในด้านการสนับสนุน hard ware และ soft ware   มีการใช้Antivirus ที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ ร้อยละ 36.4 ด้านงบประมาณ ได้รับจัดสรรเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศของและเทคโนโลยี ในระดับเพียงพอ ปานกลางและน้อย ร้อยละ 10.8, 22.1, 67.1 (ตามลำดับ) (สสจ.อุดรธานี,2557) นอกจากนั้น ในบางพื้นที่ไม่มีโครงข่ายระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง หรือมีแต่ไม่สามารถขอรับบริการได้ ซึ่งมีข้อจำกัดด้านค่าใช้จ่ายที่สูงเกินขีดความสามารถที่จะจ่ายได้ ด้านการจัดการมี แผนยุทธศาสตร์พัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศในระดับจังหวัด อำเภอ ชัดเจน และในระดับตำบล มีแผนปฏิบัติการ ร้อยละ 96.4 ซึ่งอยู่ในระดับที่ดี แต่ยังมีปัญหาบางส่วน ร้อยละ 32.4 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไม่สามารถปฏิบัติตามแผนงานด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศได้ครบสมบูรณ์ (สสจ.อุดรธานี,2557) นอกจากปัญหาทั้ง4 ด้านในการจัดการแล้ว ยังมีปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย เช่นปัญหา ข้อจำกัดของโปรแกรมระบบฐานข้อมูล(JHCIS)เอง ที่ต้องมีการพัฒนา(Update version) อยู่เป็นประจำ ปีละ 10-15 ครั้ง  ทำให้ผู้ใช้งาน(User) ตามไม่ทัน ซึ่งทำให้ข้อมูลบางส่วนที่ได้จาการใช้โปรแกรมไม่สมบูรณ์พอ อีกด้านคือปัญหา การปรับเปลี่ยนมาตรฐานแฟ้มงานเพื่อการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งถูกกำหนดจาก สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในรอบ 1 ปี จะมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ 1 ครั้ง (แฟ้มข้อมูลระบบมาตรฐาน สปสช.,2558) และในระหว่างปี จะมีการปรับเปลี่ยนเป็นบางระเบียน(Record) ซึงทำให้ผู้ปฏิบัติไม่สามารถปรับเปลี่ยนการคีย์ข้อมูลและออกรายงานได้ตามที่กำหนดได้ จากปัญหาดังกล่าวเพื่อเป็นการพัฒนาภายใต้การดำเนินงานระบบฐานข้อมูล  ซึ่งมีนักวิชาการได้กล่าวไว้หลายท่าน ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำแนวคิดทฤษฎีของ Codd .E.F.Z(1970)หรือ“ทฤษฎีฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์(Relation Database)” เพื่อการดำเนินงานระบบฐานข้อมูลในแต่ละด้าน ซึ่งจะสัมพันธ์กับปัจจัยด้านความรู้และทัศนคติของบุคลากร ขณะเดียวกันหากมีการดำเนินงานแต่ผู้ดำเนินการ ไม่มีความรู้ หรือทัศนคติที่ดี ก็ย่อมไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ หรือมีความรู้ มีทัศนคติที่ดีแต่ขาดการดำเนินงานระบบฐานข้อมูลที่ดีก็ไม่สามารถบรรลุในการแก้ไขปัญหาได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน ต่อไป


2.คำถามในการวิจัย
        มีปัจจัยอะไรบ้างที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมลของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี

3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
       วัตถุประสงค์ทั่วไป
                    เพื่อศึกษาการดำเนินงานระบบฐานข้อมล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี

       วัตถุประสงค์เฉพาะ 
              เพื่อศึกษา :
                   1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี
                     2.ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส   ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานในปัจจุบัน ประสบการณ์การทำงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาในการใช้งานโปรแกรมฐานข้อมูล กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี
                     3.ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี
                     4.ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี

4.สมมติฐานการวิจัย
        1. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานในปัจจุบัน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาในการใช้งานโปรแกรมฐานข้อมูล มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี
        2. ปัจจัยด้านความรู้มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี
        3. ปัจจัยด้านทัศนคติมีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี

5.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
        ในการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี


มีตัวแปรอิสระ ตัวแปรตามและปัจจัยต่างๆ ดังนี้
              1. ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) ได้แก่
                     1.1 ปัจจัยส่วนบุคคล
                             - เพศ
                             - อายุ
                             - สถานภาพสมรส
                             - ระดับการศึกษา
                             - ตำแหน่งงานในปัจจุบัน
                             - รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
                             - ระยะเวลาในการใช้งานโปรแกรมฐานข้อมูล

              2.  ตัวแปรตาม (Dependent Variable)  
                     การดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3 ด้าน ประกอบด้วย
1. ด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware)
          2. ด้านซอฟต์แวร์(Software)
3. ด้านการดำเนินงาน(Operation)
6.  กรอบแนวคิดการวิจัย
          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี โดยผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ Codd .E.F.Z.(1970) หรือทฤษฎีฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์(Relation Database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลของโปรแกรมระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในปัจจุบัน ซึ่งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้พัฒนาขึ้น แบบไม่เสียค่าลิขสิทธิ์(Open source) และมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย กว่า 66  จังหวัด  ทั่วประเทศ หรือคิดเป็นร้อยละ 85.71 ซึ่งกรอบแนวคิดในการศึกษา ประกอบไปด้วยตัวแปรอิสระ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ทัศนคติต่อการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล และตัวแปรตามคือ การจัดการดำเนินงานฐานข้อมูล  ของบุคลากร ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทั้ง 3 ด้าน  คือ 1.) ด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware) 2.) ด้านซอฟต์แวร์(Software) 3.) ด้านการดำเนินงาน(Operation)             


 ดังภาพประกอบที่ 1










 ภาพประกอบที่ 1 กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย
7.ขอบเขตของการวิจัย
       เนื้อหา
              การศึกษาครั้งนี้เป็นศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี
       พื้นที่และระยะเวลา
              การวิจัยครั้งนี้ ศึกษาเฉพาะตัวแทนบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน 4 จังหวัดอุดรธานี ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล  ทั้งเพศชายและเพศหญิง ปี 2558 มีระยะเวลาการศึกษาโดยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่.................. ถึง...................

8.นิยามศัพท์
       1. การดำเนินงานระบบฐานข้อมูล หมายถึง การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ ระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมี 3 องค์ประกอบ
1. ด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ด้านซอฟต์แวร์(Software)
3. ด้านการดำเนินงาน(Operation)
       2.บุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หมายถึง ข้าราชการและลูกจ้าง ทุกตำแหน่งที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล  ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโซน4 จังหวัดอุดรธานี  ตามกรอบอัตรากำลังที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขและข้าราชการตำแหน่งอื่นๆ รวมไปถึงลูกจ้างในทุกตำแหน่ง ทั้งลูกจ้างประจำและชั่วคราว เช่น พนักงานผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย(พสอ.) พนักงานช่วยเหลือการพยาบาล พนักงานธุรการ พนักงานการเงินและบัญชี พนักงานแพทย์แผนไทย พนักงานทั่วไป พนักงานข้างเก้าอี้ เป็นต้น

          2. ความรู้กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูลประกอบด้วย ความรู้ด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การดำเนินงานระบบฐานข้อมูล การใช้งานโปรแกรมฐานข้อมูล การจัดเก็บ ประมวลผล การส่งออก การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การส่งข้อมูลเข้าหน่วยประมวลผลหลัก (Server) และการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
          3. ทัศนคติต่อการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี หมายถึง ทัศนคติต่อการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การดำเนินงานระบบฐานข้อมูล การใช้งานโปรแกรมฐานข้อมูล การจัดเก็บ ประมวลผล การส่งออก การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การส่งข้อมูลเข้าหน่วยประมวลผลหลัก (Server) และการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ด้านนโยบายผลงานวิจัยใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนงานในการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
2. ด้านการนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทาง ในการกำกับดูแลและติดตามประเมินผล การดำเนินงานสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
3. ผลการวิจัยนำไปใช้ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพพัฒนารูปแบบการจัดการระบบฐานข้อมูล สารสนเทศและเทคโนโลยี ด้านสาธารณสุข


บทที่  2

ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

        ในการศึกษาค้นคว้า และวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน 4 จังหวัดอุดรธานี  ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด  ทฤษฎี  จากเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  เพื่อเป็นพื้นฐานและแนวทางในการวิจัย  ซึ่งแบ่งสาระสำคัญออกได้  4  ส่วน ดังนี้
1.    แนวคิดและทฤษฎีการดำเนินงาน
1.1 แนวคิดและทฤษฎีการดำเนินงาน
1.2 การดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
2.    แนวคิดและทฤษฎีการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล
2.1 แนวคิดและทฤษฎีการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล
2.2 ระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
3.    แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้และทัศนคติ
3.1   แนวคิดเกี่ยวกับความรู้
3.2    แนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติ
4.    งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4.1 งานวิจัยภายในประเทศ
                4.2 งานวิจัยต่างประเทศ
1 แนวคิดและทฤษฎีการดำเนินงาน
1.1แนวคิดและทฤษฎีการดำเนินงาน
        พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายไว้ว่า “ดำเนินงาน” หมายถึง กระทำงาน ปฏิบัติงาน จัดการฯ
วรรณพร  พุทธภูมิพิทักษ์และคณะ.(2554) การดำเนินงาน หมายถึงการจัดระบบงานเพื่อให้ความสำคัญต่อผลลัพธ์ของงานและการจ่ายค่าตอบแทนเป็นหลัก จะเห็นได้จากการเกิดทฤษฎีด้านแรงจูงใจกับการทำงานและการนำทฤษฎีระบบมาประยุกต์ใช้อย่างบูรณาการ ซึ่งเริ่มจากหลักคิดแนวปรัชญามาสู่การจัดการที่เป็นระบบ มีเทคนิควิธีการและการปฏิบัติอย่างเป็นกระบวนการ ช่วยทำให้ผู้บริหารสามารถประยุกต์ใช้ตามสภาพแวดล้อมอย่างเหมาะสมได้
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย. (2556 - 2561) การดำเนินงานหมายถึงการบริหารจัดการภาครัฐโดยนำหลักการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการและการแสวงหาประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งปัจจุบันได้นำการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) เข้ามาเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาระบบราชการ
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ได้แก่ ทฤษฎีองค์การและการจัดการองค์การ เพราะการจัดการองค์การที่ดีย่อมเกิดกระบวนการดำเนินงานและผลลัพธ์ของงานที่ดีเช่นกัน  ซึ่งมีวิวัฒนาการของทฤษฎีองค์การและการจัดการองค์การ แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ทฤษฎีดั้งเดิม (Classical organization theory) ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo-Classical organization theory) ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน (Modern organization theory) ในแต่ละทฤษฎีจะมีความต่างกันในรายละเอียด ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของการจัดการองค์การ ดังนี้
เฟรดเดอริค เทย์เลอร์ (FredericTaylor) วิศวกรชาวอเมริกัน เจ้าของทฤษฎีดั้งเดิม แนวความคิดทฤษฎีดั้งเดิม ได้วิวัฒนาการจากการปกครองแบบทหาร จนมาถึงปลายศตวรรษที่ 19 ได้นักบริหารสร้างรูปแบบการบริหารในระบบราชการขึ้น คือ แมควีเบอร์ และการสร้างรูปแบบการบริหาร โดยใช้การจัดการทางวิทยาศาสตร์ คือ ให้หลักการไว้ว่า "คนเป็นเครื่องมือที่ทำให้องค์การไปสู่จุดหมาย ปลายทางได้” สำหรับรูปแบบ จะต้องมีการแบ่งงานกันทำ โดย 1) ให้แต่ละคนปฏิบัติงานในสาขาที่ตนมีความชำนาญ 2) การยึดถืองานให้ยึดถือกฎเกณฑ์ระเบียบวินัยโดยเคร่งครัด เพื่อที่จะให้ได้มาตรฐานของงานเท่าเทียมกัน การยึดถือกฎเกณฑ์นี้จะช่วยขจัดความแตกต่างของบุคคล และการประสานงานกันได้      3) สายการบังคับบัญชาต้องชัดเจน โดยผู้บังคับบัญชามอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบลดหลั่นกันลงไป 4) บุคคลในองค์การต้องไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ส่วนบุคคล โดยพยายามทำงานให้ดีที่สุดเพื่อเป้าหมายขององค์การ 5) การคัดเลือกบุคคล การว่าจ้าง ให้ขึ้นอยู่กับความสามารถ และการเลื่อน ตำแหน่งให้คำนึงถึงการประสบความสำเร็จในการงานและอาวุโสด้วย จุดอ่อนขององค์การแบบราชการคือ การเน้นที่องค์การโดยละเลยการพิจารณาถึงปัญหาของคน และเชื่อว่าการที่มีโครงสร้างที่รัดกุมแน่นอนจะช่วยให้บุคคลปรับพฤติกรรมให้ เป็นไปตามความต้องการขององค์การได้
ทฤษฎีสมัยใหม่ ได้พัฒนามาจากทฤษฎีดั้งเดิม ทฤษฎีนี้มีหลักการว่า "คนเป็นปัจจัยสำคัญ
และมีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิตขององค์การ" โดยเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของคนที่ทำหน้าร่วมกันในองค์การ ถือว่าองค์การประกอบไปด้วยบุคคลซึ่งทำงานโดยมีเป้าหมายร่วมกัน และกลุ่มคนงานจะเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดผลผลิตด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อการกำหนดการผลิต กล่าวโดยสรุปว่า ทฤษฎีนี้ได้เน้นเรื่องมนุษย์สัมพันธ์ โดยได้มีการศึกษาและค้นพบว่าบุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน ขวัญในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ การเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมและการตัดสินใจระหว่างฝ่ายบริหาร และฝ่ายคนงานย่อมจะสร้างความพึงพอใจให้กับทุกฝ่ายโดยได้สร้างผลผลิตอย่าง เต็มเม็ดเต็มหน่วยได้ ทฤษฎีที่มีส่วนสำคัญมากต่อขบวนการมนุษย์สัมพันธ์ได้แก่ Elton Mayo ซึ่งได้การทดลองวิจัยและค้นพบว่า ขวัญของคนงานมีความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิต กลุ่มคนงานจะพยายามสร้างปทัสถานของกลุ่มตน และคนงานจะทำงานเป็นทีมโดยมีการกำหนดมาตรฐานของกลุ่มขึ้นเอง
ทฤษฎีสมัยใหม่ปัจจุบัน ทฤษฎีนี้กล่าวว่าเป็นการศึกษารูปแบบขององค์การในปัจจุบันโดยเน้นที่การวิเคราะห์องค์การในเชิงระบบ (Systems Analysis of Organization) กล่าวคือ นักทฤษฎีได้พิจารณาองค์กรในลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ภายในองค์กร การศึกษาว่าองค์การในระบบหนึ่ง ๆ นั้นได้คำนึงถึงองค์ประกอบภายในองค์การทุกส่วน ได้แก่ ตัวป้อน กระบวนการ ผลผลิต ผลกระทบ และสิ่งแวดล้อม ( Input process Output Feedback and Environment ) การศึกษาองค์การในรูประบบนั้นได้พยายามที่จะมององค์การในลักษณะการเคลื่อน ไหว (Dynamic) และปรับเข้ากับรูปแบบองค์การได้ในทุกสภาวะแวดล้อมทั้งนี้เพราะนักทฤษฏี ปัจจุบันได้มององค์การในลักษณะกระบวนการทางด้านโครงสร้างที่บุคคลต่าง ๆ จะต้องเกี่ยวพันซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ จึงมีการศึกษาพฤติกรรมองค์การในลักษณะใหม่ ๆ เช่น พฤติกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การบริการแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาองค์การ คิว.ซี . และการบริหารแบบอนาคตนิยม เป็นต้น
กล่าวคือ วิวัฒนาการทฤษฎีของแต่ละยุคสมัยนั้นจะเห็นว่ามีแนวทางการสร้างรูปแบบแนวคิดที่แตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งวิวัฒนาการของทฤษฎีในระยะเริ่มแรกนั้น ได้เน้นถึงการจัดการระบบงานมากจึงให้ความสำคัญต่อผลลัพธ์ของงานและการจ่ายค่าตอบแทนเป็นหลัก ต่อมาจึงมีการเน้นความสำคัญของระบบคนมากขึ้น จะเห็นได้จากการเกิดทฤษฎีด้านแรงจูงใจกับการทำงานและการนำทฤษฎีระบบมาประยุกต์ใช้อย่างบูรณาการอย่างไรก็ตามจะเห็นว่าทฤษฎีมีระบบระเบียบในตัวของทฤษฎีโดยมีหลักคิดแนวปรัชญามาสู่การจัดการที่เป็นระบบ มีเทคนิควิธีการและการปฏิบัติอย่างเป็นกระบวนการซึ่งทำให้ผู้บริหารที่สนใจนำแนวคิดทฤษฎีไปใช้นั้น อาจประยุกต์ใช้ตามสภาพแวดล้อมได้ (วรรณพร  พุทธภูมิพิทักษ์และคณะ.2554)
        สรุป แนวคิดและทฤษฎีการดำเนินงาน เป็นการดำเนินงานขององค์การไม่ว่าจะเป็นภาครัฐฯหรือภาคเอกชน ซึ่งการดำเนินงานจะจะมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโดยเฉพาะ ที่เกี่ยวกับระบบราชการคือทฤษฎีของของเฟรดเดอริค เทย์เลอร์ ( Frederic Taylor) เป็นการจัดองค์การแบบนำเอาวิธีการศึกษาวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์และแก้ปัญหา เพื่อปรังปรุงประสิทธิภาพขององค์การให้ดีขึ้น แต่ก็มีจุดอ่อนที่ต้องแก้ไขปรับปรุงคือองค์การแบบราชการ ซึ่งเน้นที่โครงสร้างองค์การ โดยขาดการพิจารณาถึงปัญหาของคนในองค์การ และเชื่อว่าการที่มีโครงสร้างที่รัดกุมแน่นอนจะช่วยให้บุคคลปรับพฤติกรรมให้ เป็นไปตามความต้องการขององค์การได้ ซึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นองค์การของภาครัฐ ย่อมมีรูปแบบเช่นเดียวกัน ดังนั้นการจัดการองค์กรที่ดีตามทฤษฎีองค์การปัจจุบัน ย่อมจะทำให้เกิดการพัฒนาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในหลายๆด้าน โดยเฉพาะด้านบุคลากร ทีมงาน ระบบงาน การสื่อสารภายในองค์การ ที่สำคัญด้านข้อมูลข่าวสารและระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเอง ให้มีความพร้อม ทันสมัยและสามารถรองรับระบบบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างครอบคลุม ตามภารกิจขององค์การ

        1.2 การดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
คู่มือบริการจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.(2554) ได้ให้คำจำกัดความการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หมายถึงการดำเนินงานใน 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย  1)ดำเนินการเชิงรุก โดยมุ่งเข้าหาประชาชนและชุมชนเพื่อการสร้างสุขภาพ เป็นหลักรวมทั้งมุ่งจัดการกับปัจจัยเสี่ยงที่เป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ  2)บริการอย่างต่อเนื่อง สามารถให้คำปรึกษาและส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลา โดยสามารถปรึกษาแพทย์ในโรงพยาบาลพี่เลี้ยง หรือส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ อาจมีบริการเตียงนอนเพื่อสังเกตอาการโดยไม่รับผู้ป่วยไว้นอนค้างคืน และหากมีกรณีฉุกเฉิน ก็มีระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อออกไปรับผู้ป่วย และให้การปฐมพยาบาลก่อนส่งต่อ 3)การเชื่อมโยงกับบริการสุขภาพในระดับอื่น  เพื่อการดูแลผู้ป่วยรายกรณีอย่างมีประสิทธิภาพ สู่การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการดำเนินงานของประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองท้องถิ่น ซึ่งการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดังกล่าวจักต้องมีการบริหารจัดการในทุกๆด้าน รวมถึงการนำระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี และการจัดการข้อมูล ที่มีศักยภาพพอ เช่น การนำคอมพิวเตอร์ โปรแกรมระบบบริการและซอฟต์แวร์(Software)ที่ทันสมัย มาช่วยในการดำเนินงาน เช่นงานรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพและการส่งต่อผู้ป่วย เป็นต้น  
การยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล โดยมีภารกิจสําคัญดังนี้ 1.ด้านการส่งเสริมสุขภาพ 2.ด้านการรักษาพยาบาล 3.ด้านการควบคุมป้องกันโรค 4.ด้านการฟื้นฟู 5.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งต้องทำพร้อมกันทั้ง 5 ด้าน เป็นภารกิจภายใต้ข้อจำกัดด้านบุคลากรที่มีจำนวนน้อยแต่มีความหลากหลายของงาน ดังนั้น เพื่อให้การตอบสนองนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจึงจำเป็นต้องมีการบูรณาการการทำงานในทุกด้าน ด้วยการนำระบบการจัดการข้อมูล การเสริมทัพด้วยการสนับสนุนฮาร์ดแวร์(Hard ware) และซอฟต์แวร์(Software) ที่ทันสมัยและมีความเหมาะสมกับการดำเนินงาน เช่นการนำโปรแกรมระบบงานสถานีอนามัยและหน่วยปฐมภูมิ(JHCIS) เข้ามารองรับระบบงาน ซึ่งช่วยให้บุคลากรมีความสะดวกสบาย และมีเวลาเพิ่มมากขึ้นในการให้บริการผู้ป่วย ซึ่งในบริบทแต่ละพื้นที่อาจมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันเช่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแห่ง อาจยังขาดแคลนด้านวัสดุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพราะงบประมาณยังกระจายลงไม่ถึงพื้นที่  ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานโปรแกรมยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมซอฟต์แวร์(Software) ซึ่งมีความทันสมัย ฮาร์ดแวร์(Hard ware) ก็ยังเป็นปัญหาเช่นกัน  (คู่มือบริการจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.2554)
สรุป การดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นการดำเนินงานที่มีข้อจำกัดด้านบุคลากร กรอบกับภาระงานที่มากเกิน ซึ่งเกือบทุกงานในกระทรวงสาธารณสุขจะมีจุดสิ้นสุดคือที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการบูรณาการองค์กรขนาดเล็กนี้ให้มีขีดความสามารถหรือมีสมรรถนะ ด้วยการพัฒนาในทุกๆด้าน ทั้ง 5 กิจกรรมหลักและรองรับการบริการประชาชนทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ให้สอดคล้องกับภารกิจของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เช่น การปรับปรุงระบบข้อมูลข่าวสาร อันเป็นเสมือนหัวใจหลักของการทำงานภายใต้โลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งที่ยังเป็นข้อจำกัดคือด้านฮาร์ดแวร์(Hard ware) และซอฟต์แวร์(Software) โดยเฉพาะการใช้โปรแกรมระบบงานสถานีอนามัยและหน่วยปฐมภูมิ(JHCIS) ยังขาดวัสดุอุปกรณ์และบุคลากรยังขาดทักษะในการใช้งาน

2.แนวคิดและทฤษฎีการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล
        2.1 ความหมายการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล
สนธยา  วันชัย ได้ให้ความหมาย ระบบฐานข้อมูล หมายถึง ระบบการรวบรวมแฟ้มข้อมูลหลายๆ แฟ้มข้อมูลเข้าด้วยกัน โดยขจัดความซ้ำซ้อนของข้อมูลออก แล้วเก็บข้อมูลไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อการใช้งานร่วมกันในองค์กร ภายในระบบต้องมีส่วนทีเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมโยงและใช้งานข้อมูล ในฐานข้อมูล (Database) และจะต้องมีการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เหล่านั้น มีการกำหนดสิทธิของผู้ใช้งานแต่ละคนให้แตกต่างกัน ตามแต่ความต้องการในการใช้งาน
รพีพร  ริมสุข ให้ความหมายระบบฐานข้อมูล หมายถึง การจัดเก็บข้อมูลหลาย ๆ แฟ้มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันไว้ในที่เดียวกัน มีวิธีเก็บบันทึกข้อมูลอย่างมีระเบียบแบบแผน มีองค์ประกอบของระบบจัดการฐานข้อมูล จัดเก็บไว้ในตู้เอกสารหรือในคอมพิวเตอร์ก็ได้ ซึ่งทำให้ผู้ใช้หรือผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันทั้งองค์กร
พัทธ์ธีรา  ธารณ์ณาโณทัย. ระบบฐานข้อมูล คือ ฐานข้อมูลที่มีระบบโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูล ที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล อำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะใช้ฐานข้อมูลและใช้แบบใด เพื่อการเข้าถึงข้อมูลและประสิทธิภาพ ของข้อมูล
วิไลภรณ์  ศรีไพศาล.(2553).ระบบฐานข้อมูลหมายถึง การจัดรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้เป็นระบบ เก็บไว้ในรูปแบบที่สามารถเรียกใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการ และในการเรียกนั้นอาจเรียกเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งมาใช้ประโยชน์เป็นครั้งคราวก็ได้ ฐานข้อมูลที่ดีควรจะได้รับการปรับปรุงข้อมูลในระบบฐานข้อมูล และปรับปรุงกระบวนการของระบบงานให้ทันสมัยอยู่เสมอทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นสำคัญ
2.2 ทฤษฎีฐานข้อมูล
ทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ ทฤษฎีของ Dr. E.F. Codd ซึ่งเป็นโมเดลเชิงสัมพันธ์ (Relation Database Model)  Codd E.F. (1970) ได้นำเสนอทฤษฎีฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เพื่อเป็นการบุกเบิกการใช้งาน ฐานข้อมูล และเป็นบรรทัดฐานในการบงบอกว่าฐานข้อมูลใด จัดเป็นฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ โดย ทฤษฎีฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ประกอบด้วยกฎ 12 ข้อ มีรายละเอียดดังนี้
กฎข้อที่ 1 The information rule: กฎว่าด้วยข้อมูล ข้อมูลหรือสารสนเทศทั้งหมดในฐานข้อมูล ควรอยู่ในรูปแบบเดียวกัน
กฎข้อที่ 2 Guaranteed access rule: กฎว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูล ข้อมูลทุกอยางที่จัดเก็บในฐานข้อมูลสามารถอ้างอิงและเข้าถึงได้เสมอ
กฎข้อที่ 3 Systematic treatment of null values : กฎว่าด้วยการจัดการกับค่าว่าง (null) ข้อมูลว่าง จะถูกแทนที่ด้วยค่า null ซึ่งมีค่าไม่เท่ากับ 0 และไม่ใช่ค่าว่าง เสมอ
กฎข้อที่ 4 Active online catalog based on the relational model: กฎว่าด้วยการจัดหมวดหมู่เชิงสัมพันธ์ ฐานข้อมูลต้องมีความสามารถในการจัดการกับการเข้าถึงตามสิทธิของ ผู้ใช้
กฎข้อที่ 5 Comprehensive data sublanguage rule: กฎว่าด้วยภาษาที่ใช้จัดการข้อมูลฐานข้อมูลสามารถใช้ภาษาในการนิยามกฎ และควบคุมข้อมูลได้
กฎข้อที่ 6 View updating rule: กฎว่าด้วยการเรียกดูข้อมูล ฐานข้อมูลสามารถรองรับการเรียกดูข้อมูลได้
กฎข้อที่ 7 High-level insert, update and delete: กฎว่าด้วยการเพิ่ม ลบ และแก้ไขข้อมูล ฐานข้อมูลสามารถรองรับ การเพิ่ม ลบ และแก้ไขข้อมูลได้
กฎข้อที่ 8 Physical data independence: กฎว่าด้วยความเป็นอิสระของข้อมูล การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลไม่มีผลกระทบตอความสัมพันธ์เชิงตรรกะ
กฎข้อที่ 9 Logical data independence: กฎว่าด้วยความเป็นอิสระของตรรกะ การเปลี่ยนแปลงทางตรรกะไม่มีผลกระทบต่อฐานข้อมูล
กฎข้อที่ 10  Integrity independence: กฎว่าด้วยความคงสภาพของข้อมูล  การเข้าถึงข้อมูลสามารถกระทำผ่านแอพพลิเคชั่นได้ โดยข้อมูลยังคงสภาพเดิม
กฎข้อที่ 11 Distribution independence: กฎว่าด้วยการกระจายข้อมูล การจัดการข้อมูลสามารถกระทำกับข้อมูลที่กระจายอยู่ในแต่ละฐานข้อมูล หรือแต่ละตารางได้
กฎข้อที่ 12 Non subversion rule: กฎว่าด้วยการเป็นเอกลักษณ์ การเข้าถึงข้อมูลสามารถเข้าถึงได้ตามรูปแบบความปลอดภัย และสิทธิที่กำหนด โดยไม่มีช่องทางอื่น
วิภาพรรณ หมื่นมา.(2555) ได้ศึกษาและจำแนกระบบฐานข้อมูลได้ 4 ประเภท ดังนี้
1. ระบบฐานข้อมูลจำแนกตามจำนวนผู้ใช้ (number of users) มี 2 ประเภท คือ
1.1 ระบบฐานข้อมูลประเภทผู้ใช้คนเดียว (single user database system) เป็นระบบ ที่สนับสนุนการทำงานของผู้ใช้เพียงคนเดียว ไม่สามารถสนับสนุนการทางานของผู้ใช้หลายคน ณ เวลาเดียวกันได้ ถูกติดตั้งและทำงานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว หรือเรียกว่า เดสก์ท็อป ดาตาเบส (desktop database) ระบบนี้มีข้อดี คือ ง่ายและสะดวกในการดูแลบำรุงรักษาและจัดการกับข้อมูล แต่มีข้อจำกัดคือ ข้อมูลไม่สามารถแบ่งปันกันใช้ ณ เวลาเดียวกันได้ ทำให้การใช้ข้อมูลไม่เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลเท่าที่ควร
1.2 ระบบฐานข้อมูลประเภทผู้ใช้หลายคน (multi-user database system) เป็นระบบ ที่สนับสนุนการทำงานของผู้ใช้หลายคน ณ เวลาเดียวกัน มีหลายลักษณะเช่น ระบบฐานข้อมูลกลุ่มงาน (workgroup database system) ระบบฐานข้อมูลฝ่าย (department database system) ระบบฐานข้อมูลองค์การ (enterprise database system) ระบบนี้มีข้อดีคือ ข้อมูลสามารถแบ่งปันกันใช้โดยผู้ใช้หลายคน ณ เวลาเดียวกันได้ทำให้การใช้ข้อมูลเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล แต่มีข้อจากัดคือ การดูแลบำรุงรักษาและจัดการกับข้อมูลให้มีความถูกต้องครบถ้วนค่อนข้างซับซ้อน เนื่องจาก มีผู้ใช้หลายคนและหลายกลุ่ม
2. ระบบฐานข้อมูลจำแนกตามสถานที่จัดเก็บ (site location) มี 2 ประเภท คือ
2.1 ฐานข้อมูลประเภทรวมศูนย์ (centralized database system) เป็นระบบที่มีการจัดเก็บฐานข้อมูลไว้ ณ ที่ใดที่หนึ่งเพียงที่เดียว โดยทั่วไปจะจัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือเครื่องขนาดกลางที่เรียกว่า เครื่องแม่ข่าย ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านเครื่องธิน เทอร์มินอล (thin terminal) ที่เชื่อมโยงอยู่กับเครื่องแม่ข่าย ระบบนี้มีข้อดีคือ ง่ายและสะดวกต่อ การดูแลบำรุงรักษา การปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย และการรักษาความปลอดภัย แต่มีข้อจากัดคือ การค้นคืนข้อมูลเพื่อนาไปใช้ในการทางานค่อนข้างช้า เนื่องจากต้องรอการประมวลผลโดยเครื่องแม่ข่ายเครื่องเดียว ทาให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลเพื่อนามาประกอบในการตัดสินใจล่าช้า ไม่ทันต่อการดาเนินการ ความน่าเชื่อถือและความพร้อมใช้ตลอดเวลาของข้อมูลต่ำ มีค่าใช้จ่ายในการประมวล ผลสูง และหากเครื่องแม่ข่ายเกิดขัดข้อง ผู้ใช้ทุกคนจะไม่สามารถเข้าถึงหรือเรียกใช้ข้อมูลได้เลย ปัจจุบันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้มีการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบไคลแอนต์เซิร์ฟเวอร์ (client-server) ซึ่งเครื่องลูกข่าย สามารถประมวลผลได้เองบางส่วน โดยไม่ต้องรอให้เครื่องแม่ข่าย ประมวลผลให้ทั้งหมดทาให้ลดข้อจากัดในเรื่องของเวลาที่ใช้
2.2 ฐานข้อมูลประเภทกระจายศูนย์ (distributed database system) เป็นระบบที่มีการจัดเก็บฐานข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องโดยเครื่องเหล่านั้นอาจอยู่ในสถานที่เดียวกันหรือต่างสถานที่ก็ได้ แต่จะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลในเครื่องแม่ข่าย โดยใช้เครื่องลูกข่ายในที่ทางานของตนเองค้นคืนข้อมูลได้ และยังสามารถประมวลผลได้เองโดยไม่ต้องรอให้เครื่องแม่ข่ายประมวลผลให้ ระบบนี้มีข้อดีคือ ผู้ใช้หลายคนสามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว การประมวลผลรวดเร็วกว่าระบบฐานข้อมูลประเภทรวมศูนย์ สามารถพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพิ่มเติมในระบบเครือข่ายได้ โดยไม่มีผลกระทบต่อการใช้งานระบบฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิม ลดค่าใช้จ่ายในการดาเนินงาน มีส่วนต่อประสานผู้ใช้ (user interface) ที่ง่ายต่อการใช้งาน ทำให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วมากขึ้น ลดความเสี่ยงในการเข้าถึงข้อมูล กรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเครื่องใดเครื่องหนึ่งเกิดขัดข้อง ผู้ใช้บางกลุ่มยังสามารถทำงานกับข้อมูลได้ตามปกติ เนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บในระบบฐานข้อมูลแยกกันอยู่ในหลายที่ แต่มีข้อจำกัดคือ การจัดการและควบคุมข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลค่อนข้างซับซ้อนและยุ่งยาก ซึ่งผู้บริหารระบบฐานข้อมูลต้องมีความสามารถป้องกันปัญหาที่เกิดจากการแก้ไข เพิ่มเติม และการเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลแต่ละแห่งโดยผู้ใช้แต่ละกลุ่ม โอกาสหรือความน่าจะเป็นที่ข้อมูลจะถูกละเมิดหรือถูกจารกรรมมีมากขึ้น รวมถึงสิ้นเปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บ
3. ระบบฐานข้อมูลจำแนกตามการใช้งาน มี 2 ประเภท คือ
3.1 ระบบฐานข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงานประจำ (operational database system) เป็นระบบที่ผู้ใช้ต้อง การใช้ข้อมูลเชิงรายการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในแต่ละวัน หรือเรียกว่า ระบบฐานข้อมูลเชิงรายการ (transactional database system) โดยข้อมูลดังกล่าวมักถูกบันทึกและจัดเก็บอยู่ในระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานภายในองค์การแต่ละฝ่าย บุคลากรที่ทำงานในฝ่ายนั้นๆ ต้องใช้ข้อมูลดังกล่าวมาประกอบในการปฏิบัติงานแต่ละวัน เช่น ระบบฐานข้อมูลการตลาด ระบบฐานข้อมูลการขายสินค้า ระบบฐานข้อมูลการเงิน เป็นต้น ระบบนี้มีข้อดีคือ ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลดังกล่าวมาประกอบในการปฏิบัติงานประจำได้ตามความต้องการ แต่มีข้อจากัด คือ ผู้ใช้ต้องได้รับอนุญาตให้เข้าถึงฐานข้อมูล และเป็นข้อมูลระดับรายละเอียดที่ทำให้ผู้บริหารไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบ ตัดสินใจได้ทันที
3.2 ระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (decision support database system) เป็นระบบที่เน้นการนำสารสนเทศได้จากการประมวลผลมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ หรือใช้ประกอบการตัดสินใจ เช่น การกำหนดราคาสินค้า พยากรณ์ยอดขาย ซึ่งข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีตและไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก เช่น ข้อมูลปริมาณการขายสินค้าประจำวันในอดีตที่ผ่านมา ข้อมูลจำนวนนักศึกษาออกกลางคันในแต่ละปีการศึกษาย้อนหลัง 5 ปี เป็นต้น อาจนำข้อมูลมาจากฐานข้อมูลหลายแห่งเพื่อจัดทำเป็นคลังข้อมูล และใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมาก เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องมากขึ้น ระบบนี้มีข้อดีคือ ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลดังกล่าวมาประกอบในการบริหารจัดการหรือตัดสินใจได้ แต่มีข้อจำกัด คือ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลดังกล่าวต้องใช้เวลา และค่าใช้จ่ายในการพัฒนาค่อนข้างสูง
4. ระบบฐานข้อมูลจำแนกตามการเข้าถึง มี 2 ประเภท คือ
4.1 ฐานข้อมูลบนเว็บ (web database) เป็นฐานข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้โดย ต้องผ่านระบบงานประยุกต์ที่ทำงานอยู่บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งฐานข้อมูลดังกล่าวจะเชื่อมโยงอยู่บนเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือองค์การ ระบบนี้มีข้อดีคือ ช่วยอำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้ใช้ในการเข้าถึงฐานข้อมูลโดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ แต่มีข้อจำกัด คือ ผู้ใช้ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต จึงจะสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลได้
4.2 ฐานข้อมูลเคลื่อนที่ (mobile database) เป็นฐานข้อมูลที่อยู่บนระบบเครือข่ายหรือบนเว็บ ที่ผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์เข้าถึงฐานข้อมูลได้โดยไม่จาเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่ฐานข้อมูลนั้นจัดเก็บอยู่ อุปกรณ์ดังกล่าวได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องพีดีเอ (Personal Digital Assistant [PDA]) ซึ่งจะทาหน้าที่เป็นเครื่องลูกข่ายเชื่อมต่อกับเครื่องแม่ข่ายแบบไร้สาย ระบบนี้มีข้อดีคือ อานวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ในการเข้าถึงฐานข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพในการทางาน ช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการบันทึกข้อมูลและเข้าถึงฐานข้อมูล เพิ่มผลผลิตในการปฏิบัติงาน รวมถึงสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์การ แต่มีข้อจากัดคือ การเข้าถึงข้อมูลอาจมีศักยภาพไม่มากเท่ากับการเข้าถึงฐานข้อมูลทั่วไป และต้องอาศัยระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ซึ่งในบางพื้นที่สัญญาณอาจมีปัญหาหรือไม่ครอบคลุม
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.(2558)
ได้จำแนกองค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล ที่สำคัญอยู่ 5 องค์ประกอบ คือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และผู้ใช้งาน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์(Hard ware) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์หรือองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการทำงาน, อุปกรณ์ต่อพ่วงตลอดจนอุปกรณ์ทุกชนิดด้านเครือข่าย
2. ซอฟต์แวร์(Soft ware) หมายถึง ชุดคำสั่งที่สามารถสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักคือ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์
2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) คือชุดคำสั่งที่ ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวประสานงานควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ จัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่บนระบบให้แก่โปรแกรมประยุกต์สามารถทำงานได้ในการทำ งานนี้ระบบจัดการฐานข้อมูลจำเป็นต้องพึ่งพาระบบปฏิบัติการเช่นหน้าที่ในการ อ่านเขียนข้อมูลลงบนหน่วยความจำสำรองหรือการจัดการหน่วยความจำหลักตลอดจนรูป แบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้เป็นต้น
2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) คือชุดคำสั่งที่ถูกสร้างเพื่อทำหน้าที่ประการใดประการ หนึ่ง เช่น โปรแกรมประยุกต์ทางด้านสำนักงาน โปรแกรมเฉพาะด้านที่ถูกพัฒนาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ โปรแกรมประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลจะถูกเขียนให้มีความสามารถในการ เชื่อมต่อและเรียกใช้งานฐานข้อมูลได้หรือเป็นเว็บแอพพลิเคชั่นที่มี คุณลักษณะดังกล่าว
3. ข้อมูลหน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดบนระบบคอมพิวเตอร์คือบิตเมื่อกลุ่มของบิต รวมตัวกันจะได้อักขระ เมื่ออักขระหลายๆ ตัวรวมกันจะได้เป็นกลุ่มอักขระที่เรียกว่าฟิลด์ และหลายฟิลด์รวมกันเพื่อทำหน้าที่สื่อถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จัดเก็บจะเรียก ว่าเรคคอร์ด ในโมเดลฐานข้อมูลแบบเชิงสัมพันธ์นั้นฟิลด์หมายถึงแอททริบิวส์ ส่วนเรคคอร์ดคือทัพเพิล
4. บุคลากร บุคลากรที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือผู้บริหารและผู้จัดการฐานข้อมูล ผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ และผู้ใช้งานกล่าวคือ
4.1 ผู้บริหารและผู้จัดการฐานข้อมูล มี หน้าที่สำคัญคือการจัดการกับฐานข้อมูลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยของฐาน ข้อมูลวางแผนป้องกันความผิดพลาดอันอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบฐาน ข้อมูล
4.2 ผู้ออกแบบฐานข้อมูล มีหน้าที่ในการรับผิดชอบเกี่ยวกับการออกแบบฐานข้อมูลให้ทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เช่น การกำหนดมุมมองของผู้ใช้แต่ละคนการกำหนดรีเลชั่นความสัมพันธ์ของรีเลชั่น เป็นต้น
4.3 นักวิเคราะห์ระบบ ออกแบบวิเคราะห์ระบบและออกแบบโปรแกรมประยุกต์ที่แสดงถึงขั้นตอนในการทำงาน ของโปรแกรมประยุกต์การออกแบบอินเตอร์เฟช เพื่อติดต่อกับผู้ใช้งาน เป็นต้น
4.4 นักเขียนโปรแกรม ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมประยุกต์ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ตามที่นักวิเคราะห์ระบบ ได้ออกแบบไว้ให้สามารถติดต่อและเข้าใช้ฐานข้อมูลได้
5. ผู้ใช้งาน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มปฏิบัติการและกลุ่มบริหาร
5.1 ผู้ใช้งานระดับปฏิบัติการ เป็นกลุ่มผู้ใช้งานที่มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มแก้ไขลบข้อมูลที่จะป้อน เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลมากที่สุดตลอดจนอาจมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำรายงาน เบื้องต้นเพื่อส่งต่อให้ผู้บริหารใช้เพื่อการตัดสินใจหรือวางแผน
5.2 ผู้ใช้งานระดับบริหาร เป็นกลุ่มที่ใช้ข้อมูลของระบบฐานข้อมูลเพื่อไปใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ เชิงธุรกิจหรือตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานอาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ บันทึกเพิ่มแก้ไขข้อมูลโดยตรง (สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.2558)
สรุป ระบบฐานข้อมูล หมายถึง ระบบการจัดการข้อมูลที่เป็นศูนย์กลาง ทั้งจัดเก็บ รวบรวม ประมวลผลและเพื่อการเรียกใช้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีระเบียบ ซึ่งภายในระบบฐานข้อมูลจะประกอบด้วย แฟ้มข้อมูลหลายๆ แฟ้ม และมีการจัดการข้อมูลภายในด้วยโปรแกรมประยุกต์ที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมโยงและใช้งานข้อมูล (DBMS:Database Management System) ซึ่งจะขจัดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ช่วยดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูล กำหนดสิทธิของผู้ใช้งาน เพื่อการเข้าใช้งานฐานข้อมูลร่วมกันในองค์การ
2.2 ระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้ถูกพัฒนาด้วยการนำโปรแกรมระบบบริการหน่วยปฐมภูมิ เข้ามาใช้ เพื่อการจัดเก็บข้อมูลผู้รับบริการ ทั้งข้อมูลผู้ป่วยนอก การวินิจฉัยโรค จ่ายยา และหัตถการ การนัดหมาย ส่งต่อ นอกจากนี้ยังใช้เพื่อ การวิเคราะห์ข้อมูลภาวะสุขภาพ การออกรายงาน ซึ่งปัจจุบันมีการนำโปรแกรมมาใช้อยู่ 2 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมฮอสเอกซ์พี พีซียู(HosXp Pcu) และโปรแกรมระบบสถานีอนามัยและหน่วยบริการปฐมภูมิ(JHCIS) หรือเรียกสั้นว่า โปรแกรมJHCIS ซึ่งเริ่มใช้งานตั้งแต  2552 และในการวิจัยครั้งนี้จะทำการศึกษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ใช้โปรแกรม JHCIS ทั้งหมด รายละเอียดโปรแกรม ดังนี้
JHCIS เป็นโปรแกรมระบบงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและศูนย์สุขภาพชุมชน ที่ใช้งานได้ครอบคลุมข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้อย่างเป็นระบบ สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อรายงานต่างๆ ทั้งที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต้องการ แก้ปัญหาต่างๆ ของ HCIS เดิม        ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงได้ทำการวิเคราะห์ออกแบบและ พัฒนาระบบงานขึ้นใหม่ สามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการทั้ง Windows, Ubuntu, Linux ฯลฯ โดยใช้เทคโนโลยี Open Source Technology ทั้งหมด ซึ่งโปรแกรมระบบฐานข้อมูลสถานีอนามัยและหน่วยปฐมภูมิ (JHCIS) ประกอบด้วยข้อมูลหลายส่วนที่มีความเกี่ยวข้องและต้องใช้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในการบันทึกข้อมูลจึงแบ่งหน้าจอออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
1. ระบบโปรแกรมฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
2. ข้อมูลพื้นฐาน
3. การให้บริการ
4. ตรวจสอบประมวลผล และสำรองข้อมูล
5. รายงานและสอบถามข้อมูล
6. ระบบคลังยาเวชภัณฑ์ [คลังยานอกฯ]
7. ระบบคลังยา-เวชภัณฑ์ [คลังยาในฯ]
8. ระบบคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD)
9. ติดตั้งโปรแกรม OP-PP NHSO 2554
1.ระบบโปรแกรมฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จะเป็นส่วนกำหนดค่า (System Configure) สำหรับการใช้งานโปรแกรมในครั้งแรกเช่น ชื่อสถานบริการ รหัสสถานบริการ เวลาเปิด-ปิดทำการ รหัสทางระบาดวิทยา ระบบคลังยาฯ ในส่วนนี้จะเป็นการเข้าใช้งานผ่านAdmin จึงจะถือว่าใช้งานได้อย่างสมบูรณ์และจะใช้เพื่อปรับปรุงโครงสร้างฐานข้อมูลเมื่อมีการเปลี่ยนเวอร์ชั่น(Version) ของโปรแกรม
2.ข้อมูลพื้นฐาน โปรแกรมระบบฐานข้อมูลสถานีอนามัยประกอบด้วยข้อมูลหลาย ๆส่วนที่มีความเกี่ยวข้องและต่อเนื่องสัมพันธ์กัน และเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญจำเป็นในการให้บริการโดยแบ่งหน้าจอออกเป็นส่วน ๆ สำหรับบันทึกข้อมูลและจะกล่าวถึงตามลาดับ ดังนี้ 1.)หมู่บ้าน 2.)บ้าน 3.)กำหนดบ้านลงในชุมชน 4.)โรงเรียนสถานประกอบการ-ศาสนสถาน-แหล่งน้า-ชมรม 5.)ประชากร 6.)ทะเบียนผู้ป่วยเรื้อรัง 7.)ทะเบียนผู้พิการ 8.)ประชากร จำแนกตามหมู่บ้าน-บ้าน 9.) บัญชี 1-8  10.)เด็กอายุ 3 – 18 ปี  11.)บริการ 12.)รายงาน
3.ข้อมูลการให้บริการ โปรแกรมระบบฐานข้อมูลสถานีอนามัย(JHCIS) ประกอบด้วยข้อมูลหลายๆ ส่วนที่มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน เป็นข้อมูลที่จำเป็นและมีความสำคัญในการให้บริการโดยระบบได้ถูกออกแบบหน้าจอสำหรับบันทึกข้อมูลออกเป็นหลายส่วนด้วยกัน ดังนี้ 1.)บันทึกการให้บริการวันนี้ 2.)บันทึการให้บริการย้อนหลัง 3.)NCD ความดัน + เบาหวาน + รอบเอว 4.)NCD ตรวจคัดกรองมะเร็ง (เต้านม + ปากมดลูก) 5.)เด็ก 0-72 เดือน ชั่งน้าหนัก วัคซีน ตรวจพัฒนาการ 6.)เด็ก 0-72 เดือน ตรวจสภาพช่องปาก 7.)นักเรียน (รับวัคซีน)   8.)นักเรียน (ตรวจอนามัย) 9.)ANC (ตรวจครรภ์) 10.)บัญชี 6 FP Coverate (การวางแผนครอบครัว & หญิงวัยเจริญพันธ์) 11.)บัญชี 7 [หญิงตั้งครรภ์ภายใน 40 สัปดาห์ (10 เดือน) ย้อนหลัง] 12.)ข้อมูล Refer 13.)บริการที่ถูกยกเลิก 14.)คิวอัตโนมัติ 15.)บันทึกข้อมูลประชากร 16.)รายงาน ก่อนที่จะบันทึกข้อมูลใด ๆ ต้องค้นหาชื่อของผู้ที่มารับบริการขึ้นมาก่อน และเมื่อค้นหาได้แล้วจึงจะเลือกประเภทที่มารับบริการ
4. ตรวจสอบประมวลผล และสำรองข้อมูล สามารถใช้การประมวลผลเพื่อออกรายงานได้ด้วยตัวโปรแกรมเอง สำหรับการสำรองข้อมูล(Back up) จะใช้โปรแกรมMySqlซึ่งเป็นโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลที่มากับระบบฐานข้อมูลJHCIS อยู่แล้ว  ในการสำรองข้อมูลสามารถกระทำได้ทั้งในเครื่องแม่(Server)และเครื่องลูก(Client) และยังสามารถกำหนดระยะเวลาที่จะสำรองข้อมูลล่วงหน้าได้ (Auto back up) เพื่อป้องกันการลืม
5. ระบบการรายงานและสอบถามข้อมูล ผู้ใช้สามารถเลือก รายงานที่ต้องการได้ โดยการคลิกที่ปุ่มของรายงานนั้นๆ เพื่อทำการพิมพ์รายงาน เมื่อคลิกปุ่ม จะแสดงหน้าจอโดยหน้าจอรายงาน จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แสดงรายงานต่างๆของโปรแกรม JHCIS ส่วนที่ 2 เป็นการจัดการข้อมูล Off Line ว่าต้องการที่จะส่องออกข้อมูล หรือ นำเข้าข้อมูลลง Server ส่วนที่ 3 เมนูสาหรับย้อนกลับไปหน้าการให้บริการ คลิกเลือกว่าต้องการรายงานเรื่องใด รอการประมวลผลจากระบบ ส่วนการออกรายงาน 43 แฟ้ม(แฟ้มข้อมูลมาตรฐาน) เพื่อส่งข้อมูล คลิกที่ปุ่ม เลือกหน่วยงาน เลือกเงื่อนไขในการส่งออกข้อมูล โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.) ส่งข้อมูลทั้งหมด 2.)ส่งข้อมูลเฉพาะที่ยังไม่เคยส่ง หรือ ที่มีการปับปรุงแก้ไข 3.)ตามช่วงวันที่ที่ระบุ  คลิกปุ่มประมวลผลและส่งออก ส่วนการพิมพ์รายงาน สำหรับรายงานในโปรแกรม JHCIS มีอยู่หลายรายงานและมีหน้าจอที่แตกต่างกันออกไปโดยแต่ละรายงานมีวิธีการใช้งาน ดังนี้  1.คลิกที่ปุ่มระบุสถานบริการ 2.ช่วงวันที่ของข้อมูล 3.เงื่อนไข ระบุเงื่อนไข เช่น หากต้องการพิมพ์รายงานรง. 400 คลิกที่ปุ่ม รง.400 จะปรากฏหน้าจอให้เลือกพิมพ์รายงานย่อยอีกครั้งหนึ่ง ระบุเงื่อนไขและ คลิกที่ปุ่มรายงานที่ต้องการพิมพ์ ก็จะสามารถออกรายงานได้ทันที นอกจากนั้นแล้วการออกรายงานยังสนับสนุนรายงานที่สร้างขึ้นเองโดยผู้ใช้งาน (User) ผ่านเมนู รายงานเฉพาะที่ผู้ใช้สร้างขึ้นเอง (User’Report with iReport) ทั้งนี้รายงาน ที่ได้จะต้องออกแบบรายงานด้วยไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น *.Jasper จึงจะสามารถออกรายงานในเมนูนี้ได้
6. ระบบคลังยาเวชภัณฑ์ (คลังยานอก) หน้าจอนี้จะเป็นหน้าจอที่รวมการทำงานไว้หลายส่วน ซึ่งจะสามารถอธิบายออกเป็นส่วนๆได้ ดังนี้ ก่อนอื่นต้องเข้าไปกำหนดค่า(System Configure) และกำหนดสถานบริการ และรายละเอียดสถานบริการ เข้าเมนูรหัสยา-เวชภัณฑ์ เลือกนำเข้ารหัสยา 24 หลัก นำเข้ารหัสICD10 ปรับแต่งประสิทธิภาพ MySQL เลือกกำหนดค่าเริ่มต้นสำหรับสถานบริการนี้  กำหนดสิทธิผู้ใช้ ซึ่งจะใช้จำกัดสิทธิผู้ใช้แต่ละคนว่าสามารถให้บริการได้ในระดับใด จ่ายยาอะไรได้บ้าง เช่น สั่งจ่ายยาแผนปัจจุบัน ยาอันตรายหรือยาสมุนไพรได้หรือไม่ กำหนดสิทธิผู้ให้บริการแบ่งเป็น 8 ส่วน ได้แก่ 1. วินิจฉัยโรค-จ่ายยาฯ 2. ตรวจครรภ์ (ANC) 3. คลอด (บันทึกรายละเอียดการคลอดของมารดาและทารก) 4. ดูแลมารดาหลังคลอด 5. ดูแลทารกหลังคลอด 6.โภชนาการ & วัคซีน 7. วางแผนครอบครัว 8. ตรวจมะเร็ง (เฉพาะการตรวจมะเร็ง) หากผู้ใช้ไม่มีสิทธิในการให้บริการในบางรายการ โปรแกรมจะปรากฏข้อความแจ้งเตือน ว่าผู้ใช้ไม่สามารถเข้าไปบันทึกการให้บริการในส่วนนี้ได้
7.ระบบคลังยา-เวชภัณฑ์ [คลังยาในฯ] 
 เข้าสู่โปรแกรม JHCIS ด้วย User ที่ชื่อ Drug_Store_Admin เท่านั้นจงจะทำรายการนี้ได้ 
 ในครั้งแรกโปรแกรมจะนำรายการยาที่มีอยู่ใน ตารางรหัสยาที่ได้ระบุว่ามีใช้ในสถานบริการขึ้นมาให้ทั้งหมด หลังจากนั้นเราจะต้องมากำหนดวันหมดอายุและจำนวนลงไป สำหรับการเบิกจ่ายยาให้เข้าเมนูการบันทึกข้อมูลการเบิกยา-เวชภัณฑ์ คลิกเพิ่มข้อมูลการเบิกยา ยืนยันการเพิ่มข้อมูลฯ ระบุวันเดือนปีที่เบิก ถ้าไม่ระบุโปรแกรมจะกำหนดให้เป็นวันปัจจุบัน เลือกประเภทการเบิก อกยา-เวชภัณฑ์ที่ต้องการเบิก โดยโปรแกรมจะแสดงเฉพาะยาที่มีคงเหลืออยู่ในคลังยา พร้อมแสดง ข้อมูลวันหมดอายุ Lot No. จำนวนคงคลัง หน่วยบรรจุ จานวนนับใน 1 หน่วยบรรจุ ราคาต่อหน่วยบรรจุ หน่วย นับซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้ทาการบันทึกในหน้ารับยา-เวชภัณฑ์ การระบุจำนวนจ่ายจะต้องระบุไม่มากกว่าที่มีอยู่ใน คลังยา และต้องไม่เท่ากับ 0 การเบิก หากประเภทการเบิกเป็น เข้าคลังยานอก จะไม่สามารถเบิกยาที่รหัสซ้ำกันได้ หากต้องการเบิกยารหัสเดียวกันจะใช้ใบเบิกคนละใบ (เหมือนระบบคลังยานอก) สำหรับการสั่งพิมพ์ใบคุมคลังยา สามารถสั่งพิมพ์ได้ 3 รูปแบบ 1. ใบเบิกเวชภัณฑ์ 2.ส่งออกเป็น text file (.txt) หรือ excel file (.xls) 3.ส่งออกเป็นไฟล์เมื่อทำการส่งเบิกยาและนำเข้าเมื่อเบิกยาเสร็จแล้ว
8. ระบบคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD)  สามารถเข้าที่หน้าบริการ  คลิก NCDScreen เข้าบันทึกข้อมูลคัดกรองความดัน/เบาหวาน ลงผลการตรวจน้ำตาล วิธีตรวจระดับน้ำตาล เช่น DTX(อดอาหาร)หรือ DTX(ไม่อดอาหาร) บันทึก/จบ จากนั้นสามารถดูรายงานได้ที่เมนูรายงานและสอบถามข้อมูล หัวข้อรายงานการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCD Screen) กำหนดช่วงวันที่ที่ต้องการออกรายงาน และคลิกแสดงรายงาน
9. ติดตั้งโปรแกรม OP-PP NHSO2010 เป็นโปรแกรมที่มีไว้ตรวจสอบข้อมูลจากแฟ้มมาตรฐาน (43 แฟ้ม) ที่ส่งออกมาจากโปรแกรมJHCIS อีกชั้นหนึ่ง เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนรมทั้งความเชื่อมโยงของข้อมูลว่า มีบริการ หรือมีการคัดกรองแล้ว มีรายชื่อในแฟ้มบุคคล(Person) หรือไม่ หรือในส่วน หญิงตั้งครรภ์ (ANC) มีการขึ้นทะเบียนไว้ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งโปรแกรม OP-PP NHSO2010 สามารดาวน์โหลด ได้ที่เวปไซต์ http://61.108.37/0ppp2010/ ในปัจจุบันได้พัฒนาถึงเวอชั่น 4.0.90 for/2558 เมื่อดาวน์โหลดเสร็จก็ติดตั้ง และกำหนดสถานบริการ เข้าที่เมนู ตั้งค่าหน่วยบริการ  สำหรับการตรวจสอบข้อมูล ก็เริ่มจากการส่งออกข้อมูลจากโปรแกรมJHCIS แบบ43แฟ้ม รูปแบบซิพไฟล์(ZIP files) และนำเข้าโปรแกรม OP-PP NHSO2010 เลือกเมนู ตรวจสอบ 43 แฟ้ม  เลือกแฟ้ม รับข้อมูล เลือกตรวจสอบข้อมูล(สปสช.) หรือเลือกตรวจสอบแบบละเอียด เสร็จแล้วโปรแกรมจะประมวลผลสักพัก และจะรายงานผลให้ทราบว่าแฟ้มใดผลงานถูกต้องร้อยละเท่าใด และมีข้อผิดพลาดอยู่กี่เรคอร์ด (Record) และผิดพลาดเพราะอะไร ซึ่งในส่วนข้อผิดพลาดนี้เราสามารนำไปปรับปรุงแก้ไขในโปรแกรม JHCIS ได้และส่งออกมาเพื่อความถูกต้องอีกครั้ง ก่อนส่งให้ศูนย์ข้อมูลในระดับจังหวัด หรือส่งให้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ต่อไป (ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.2555)
กล่าวโดยสรุประบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้ถูกพัฒนาขึ้นด้วยการนำโปรแกรมระบบบริการเข้านำปรับใช้กับระบบการดำเนินงานประจำ ซึ่งในงานวิจัยในครั้งนี้เป็น การนำโปรแกรมที่ชื่อว่า โปรแกรมระบบฐานข้อมูลสถานีอนามัยและหน่วยปฐมภูมิ(JHCIS) เป็นโปรแกรมแบบ Open source หรือเปิดใช้ได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ  ขีดความสามารถของโปรแกรม สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดีเพราะมีความยืดหยุ่นสูง มีเมนูครบตามภารกิจของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แยกเก็บข้อมูลตามแบบระบบฐานข้อมูล มีการประมวลผล สำรองข้อมูล(Back up)  ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และออกรายงานตามแฟ้มมาตรฐานที่ สปสช.กำหนด ในการใช้งานจะแยกเครื่องแม่(Server) และเครื่องลูก(Client) เพื่อการให้บริการ ทั้งนี้ถึงแม้ระบบฐานข้อมูลจะถูกออกแบบมาดีเพียงและมีซอฟต์แวร์(Soft ware)ที่ทันสมัย แต่ขาดวัสดุอุปกรณ์(Hard ware) ที่รองรับ หรือมีผู้ใช้(User)ที่ขาดทักษะที่ดีพอ ก็ย่อมทำให้การดำเนินงานระบบฐานข้อมูลไม่ประสบผลสำเร็จได้ เท่าที่ควร
สรุป จากการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล และระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้วิจัยได้ประยุกต์จากแนวคิดและทฤษฎีด้านระบบฐานข้อมูล สรุปได้ว่า การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นั้น ควรที่จะศึกษาและเกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูลประกอบด้วยปัจจัย 3 ด้าน คือ 1.) ปัจจัยด้านฮาร์ดแวร์(Hard ware) 2.) ปัจจัยด้านซอฟแวร์(soft ware)3.)ปัจจัยด้านการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล  





3.แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้และทัศนคติ
        3.1 แนวคิดเกี่ยวกับความรู้ ( Knowledge )
            มาโนช  เวชพันธ์ ( 2553 : 15 – 16 )  กล่าวว่า  ความรู้  คือ  สิ่งที่มนุษย์สร้าง  ผลิต  ความคิด  ความเชื่อ  ความจริง  ความหมาย  โดยใช้ข้อเท็จจริง  ข้อคิดเห็น  ตรรกะ  แสดงผ่านทางภาษา  เครื่องหมาย และสื่อต่างๆ  โดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์เป็นไปตามผู้สร้าง
           ประภาเพ็ญ  สุวรรณ ( 2520 : 16 )  ให้ความหมายว่า  ความรู้เป็นพฤติกรรมขั้นต้น  ซึ่งผู้เรียนเพียงแต่จำได้  อาจจะโดยการนึกได้หรือโดยการมองเห็นหรือได้ยินความรู้ขั้นนี้  ได้แก่  ความรู้เกี่ยวกับคำจำกัดความ  ความหมาย  ข้อเท็จจริง  ทฤษฎี  กฎ  โครงสร้างและวิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้เป็นต้น
           พจนานุกรมทางการศึกษาให้ความหมายของความรู้ไว้ว่า  ความรู้เป็นข้อเท็จจริง  ความจริง  กฎเกณฑ์  และข้อมูลรายละเอียดต่างๆ  ที่บุคคลเก็บรวบรวมไว้  ซึ่งความรู้ (Knowledge)  เป็นปัจจัยนำ ตัวหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมและเป็นสิ่งจำเป็นที่ก่อให้เกิดการแสดงพฤติกรรม  เป็นการเรียนรู้  ความเข้าใจที่ถูกต้องของบุคคลเกี่ยวกับวิธีการป้องกันและควบคุมโรค  ซึ่งความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องนั้นจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น  แต่ความรู้อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพได้ซึ่ง  ไคลน์ ( Klein. 1991 : 56 )  ได้อธิบายว่า  การเกิดการเรียนรู้  เป็นกระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร  จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้มีองค์ประกอบอยู่  3  ส่วน  ได้แก่
               1. การเรียนรู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามศักยภาพ (Potential) ซึ่งไม่ได้เกิดโดยอัตโนมัติ จะต้องมีแรงจูงใจอย่างเพียงพอที่จะไปสู่การเกิดพฤติกรรม
               2. พฤติกรรมเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมาจากการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเกิดถาวรตลอดไป
               3. การเปลี่ยนแปลงจากการเรียนรู้นั้นต้องไม่ใช่เกิดจากสัญชาตญาณ  หรือวุฒิภาวะ  เช่น  ตอนอายุ  1  ขวบ  เปิดประตูเองไม่ได้  ต่อมาอายุ  2  ขวบ  สามารถเปิดประตูเองได้  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้มาจากการเจริญเติบโตของร่างกาย  เป็นต้น
           การเกิดการเรียนรู้ไม่ว่าระดับใดก็ตาม ย่อมมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกนึกคิด  ซึ่งเชื่อมโยงกับการเปิดรับข่าวสารของบุคคลนั่นเอง  รวมไปถึงประสบการณ์และลักษณะทางประชากร  เช่น  การศึกษา  เพศ อายุ ฯลฯ  ของแต่ละคน  ซึ่งเป็นผู้รับข่าวสาร  ถ้าประกอบกับการที่บุคคลมีความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ  เช่น  มีการศึกษา  มีการเปิดรับข่าวสาร  มีโอกาสที่จะมีความรู้ในเรื่องนี้  และสามารถเชื่อมโยงความรู้นั้นเข้ากับสภาพแวดล้อมได้  สามารถระลึกได้  รวบรวมสาระสำคัญเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรค  สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์  รวมทั้งประเมินผลได้ต่อไป  และเมื่อประชาชนเกิดความรู้เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรค  ไม่ว่าจะในระดับใดก็ตาม  สิ่งที่เกิดตามมาก็คือ  ทัศนคติ  ความคิดเห็น  ในลักษณะต่างๆ
           จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่าความรู้  หมายถึง  การที่บุคคลสามารถจดจำ  รับรู้ข้อมูล  ข้อเท็จจริงกฎเกณฑ์ต่างๆ  ซึ่งเกิดจากการค้นคว้า  การสังเกตและประสบการณ์ที่ต้องอาศัยเวลา  สามารถแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมโดยสามารถสังเกตได้  วัดได้  และถ่ายทอดให้บุคคลอื่นรับทราบ  ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาความรู้ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล หมายถึง  การทราบข้อความจริง  รายละเอียดเกี่ยวกับความหมายของ ฮาร์ดแวร์(Hard ware) ซอฟต์แวร์(soft ware) ระบบฐานข้อมูล   องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล การจัดการฐานข้อมูล เช่น การใช้งาน การจัดเก็บ การสำรองข้อมูล การออกรายงาน การส่งข้อมูล การกำหนดสิทธิ์สำหรับผู้ใช้งาน(User) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความรู้ในการใช้แอนตี้ไวรัส(Antivirus) และความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
            การวัดความรู้
                เป็นการวัดเกี่ยวกับเรื่องราวที่เคยมีประสบการณ์หรือเคยรู้  เคยเห็นและทำมาก่อนและสามารถสร้างคำถามวัดสมรรถภาพได้หลายลักษณะด้วยกัน  ลักษณะคำถามก็แตกต่างกันออกไปตามชนิดของความรู้  ความจำ  แต่ก็มีลักษณะร่วมกันอยู่อย่างหนึ่ง  การวัดความรู้  การวัดผลด้านความรู้ได้ยึดแนวทางของ  Bloom ซึ่งวัดพฤติกรรมในสิ่งต่อไปนี้
                   1. ความสามารถเกี่ยวกับการจำซึ่งแสดงออกมาในรูปของความจำได้ การระลึกได้ในส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระ กระบวนการ แนวความคิด และทฤษฎีต่างๆ
                   2. ความสามรถในการตีความ และความเข้าใจในเนื้อหาสาระ เมื่อปรากฏอยู่ในรูปตารางแผนภูมิ สัญลักษณ์หรือรูปแบบอื่นๆ
                   3. ความสามารถในการประยุกต์ วิเคราะห์ สรุป และประเมินค่าจากเนื้อหาสาระในสถานการณ์ต่างๆ
               ฑิตยา  สุวรรณชฎ (2537 : 1 )  ให้ความหมาย  ความรู้ในความหมายที่กว้างว่า  บรรดาข่าวสารต่างๆ แนวคิดต่างๆ รวมตลอดจนกระทั่งวิธีการต่าง ๆ ในอันที่ จะได้มาซึ่งข่าวสารและความความคิดนั้น นอกจากนั้นยังหมายความถึง ความคิด ความเชื่อของชาวบ้านอีกด้วย ความรู้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ได้ค้นพบ และสร้างขึ้นมาเป็นเครื่องมือประกอบการดำรงชีพ และกำหนดวิถีชีวิตในทางสังคมศาสตร์
               สมศักดิ์  ศรีสันติสุข ( 2538 : 2 – 5 ) ได้ให้ความหมายของความรู้ว่าจากปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่มนุษย์ต้องประสบทั้งทางธรรมชาติและสังคมมนุษย์จะต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติ และสังคมซึ่งจะมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์จึงต้องเข้าใจสิ่งแวดล้อมและสังคม และรู้จักการแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งที่มาจากสิ่งแวดล้อมและสังคม กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือมนุษย์จะต้องหาความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจสาเหตุและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ต่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และสังคม ซึ่งความรู้ของมนุษย์ได้มีการพัฒนามากมายและมีหลายระดับของความรู้ตามความสามารถและพื้นฐานของมนุษย์ กล่าวคือ
                   1. ความรู้ในทัศนะของบุคคลทั่วไป จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามพื้นฐานและความสามารถของแต่ละบุคคล บุคคลทั่วไปในที่นี้ หมายถึงประชาชนทั่วไปที่ประกอบอาชีพที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เช่น ชาวนา ชาวไร่ พ่อค้า นักธุรกิจ ชาวบ้านทั่วไป และอื่นๆ บุคคลทั่วไปเหล่านี้มีทัศนะต่อความหมายของความรู้ที่เกิดจากความรู้และความเข้าใจ การถ่ายทอดสืบต่อมาจากประเพณี แต่จะไม่รู้ถึงความหมายที่แท้จริงซึ่งเป็นความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ทางธรรมชาติ และทางสังคมของบุคคล ไม่สามารถที่จะเรียบเรียงเป็นความคิดรวบยอดได้
                   2. ความรู้ในทัศนะของนักวิชาการ มีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์มีเหตุมีผลและความคิดรวบยอด มีลักษณะของนามธรรมเป็นส่วนมาก ความรู้ของนักวิชาการจะต้องเป็นวิทยาศาสตร์ มีเหตุและผลสามารถพิสูจน์ได้ มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้นักวิชาการมักมีความสนใจที่จะค้นคว้าหาความรู้ อย่างมีระบบตามแขนงวิชาของตน เพื่อนำความรู้นั้นสร้างขึ้นเป็นหลักทฤษฎีของตนต่อไป
                   3. ความรู้ในทัศนะของนักปฏิบัติ ความหมายของความรู้ในทัศนะของนักปฏิบัติจะเกี่ยวข้องกับความเข้าใจในเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งทางธรรมชาติและสังคมที่อธิบายได้ในลักษณะที่สามารถนำไปใช้ได้ เราอาจจะกล่าวได้ว่านักปฏิบัติเป็นบุคคลที่เชื่อมโยงระหว่างความรู้ของนักวิชาการ และบุคคลทั่วไปเพื่อนำความรู้นั้นไปทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ระดับความนึกคิดความลึกซึ้งของความรู้ อาจจะอยู่ระหว่างนามธรรมและรูปธรรมตามความเข้าใจของทัศนะบุคคลทั่วไป
        ลำดับขั้นของความรู้ความเข้าใจฉะนั้น เมื่อพิจารณาถึงความหมายของความรู้ จึงอาจกล่าวได้ว่า ความรู้ หมายถึงการรับรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง เหตุการณ์ รายละเอียดต่าง ๆ ที่เกิดจากการสังเกต การศึกษา ประสบการณ์ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมความรู้พื้นฐาน หรือภูมิหลังของแต่ละบุคคล ที่บุคคลได้จดจำหรือเก็บรวบรวมไว้และสามารถแสดงออกมาในเชิงพฤติกรรมที่สังเกต หรือวัดได้จากความหมายของความรู้ดังกล่าวข้างต้นพอสรุปได้ว่า ความรู้ หมายถึงข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับจากการจำ การศึกษา การเรียนรู้ ที่สะสมรวบรวมไว้และแสดงออกมาในเชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตได้
        Banjamin S. Bloom และคณะ ( 1975 )  ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความรู้หรือพุทธิพิสัย          ( Cognitive domain )  ของคนว่าประกอบด้วยความรู้ตามระดับต่างๆ รวม  6  ระดับ  ซึ่งอาจพิจารณาจากระดับความรู้ในขั้นต่ำไปสู่ความรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป  โดย Bloom และคณะ  ได้แจกแจงรายละเอียดของแต่ละระดับไว้ดังนี้
           1. ความรู้ (Knowledge)  หมายถึง  การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำ  และการระลึกได้ถึงความคิด  วัตถุ  และปรากฏการณ์ต่างๆ  ซึ่งเป็นความจำเป็นที่เริ่มจากสิ่งง่ายๆ  ที่เป็นอิสระแก่กัน  ไปจนถึงความเข้าใจที่ยุ่งยากซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
           2. ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (Comprehension) เป็นความสามารถทางสติปัญญาในการขยายความรู้ ความจำ ให้กว้างออกไปจากเดิมอย่างสมเหตุสมผล และความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
           3. การนำไปปรับใช้ (Application)เป็นความสามารถในการนำความรู้( Knowledge )  ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด ( Comprehension ) ในเรื่องใดๆ ที่มีอยู่เดิมไปแก้ไขปัญหาที่แปลกใหม่ในเรื่องนั้น  โดยการใช้ความรู้ต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการเกี่ยวกับความคิดรวบยอดมาผสมผสานกับความสามารถในการแปลความหมาย  การสรุปหรือการขยายความสิ่งนั้น
           4. การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถและทักษะที่สูงกว่าความเข้าใจ และการนำไปปรับใช้ โดยมีลักษณะเป็นการแยกแยะสิ่งที่พิจารณาออกเป็นส่วนย่อย ที่มีความสัมพันธ์กัน รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ อันจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง
           5. การสังเคราะห์ (Synthesisi) เป็นความสามารถในการรวบรวมส่วนประกอบต่างๆ หรือส่วนใหญ่ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  การสังเคราะห์มีลักษณะเป็นกระบวนการ  การรวบรวมเนื้อหาสาระของเรื่องต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน  เพื่อสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างที่ยังไม่ชัดเจนขึ้นมาก่อนอันเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ภายในขอบเขตที่กำหนดไว้
           6. การประเมินผล (Evaluation)  เป็นความสามารถในการตัดสินเกี่ยวกับความคิด  ค่านิยม ผลงาน  คำตอบ  วิธีการและเนื้อหาสาระเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง  โดยมีการกำหนดเกณฑ์            (Criteria)  เป็นฐานในการพิจารณาตัดสินการประเมินผล  จัดเป็นขั้นตอนที่สูงสุดของพุทธิลักษณะ            (Characteristics  of Cognitive  Domain)  ที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ  การนำไปปรับใช้  การวิเคราะห์และการสังเคราะห์เข้ามาประกอบกันเพื่อทำการประเมินผลสิ่งหนึ่งสิ่งใด
        ดังนั้น  ผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวการความรู้  จึงได้สนใจประยุกต์ทฤษฎีของ  Banjamin S. Bloom และคณะ (1975) มาใช้ในกรอบแนวคิดในการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี โดยผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามในการวัดความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
        องค์ประกอบของความรู้
           พิศวง  ธรรมพันธา (2523)  ได้กล่าวถึงลักษณะของความรู้ว่าประกอบด้วย
           1. การทดลองได้ (Empirical) การทดลองอยู่บนพื้นฐานของสังเกต การพิสูจน์ ตรวจสอบ และการใช้กระบวนการเหตุผล
           2. การตรวจสอบได้ (Verifiable evidence) ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากการเห็น การชั่งน้ำหนัก การวัด การนับ และการตรวจสอบ
           3. มีความเป็นทฤษฎี (Theoretical) สามารถสรุปสิ่งที่สังเกตตามหลักตรรกวิทยามาเป็นทฤษฎีหรือเนื้อหาวิชา
           4. มีการผสมผสาน (Cumulative) เพราะทฤษฎี หรือความรู้เดิมนั้นเป็นพื้นฐานของการสร้างทฤษฎีใหม่
           5. ไม่เป็นจริยศาสตร์ (Non–ethical) เนื้อหาสาระจะไม่เพ่งเล็งในด้านดีหรือเลว แต่จะมุ่งทำความเข้าใจและอธิบายสิ่งที่เป็นไป

           ประเภทความรู้
           ปฬาณี  ฐิติวัฒนา (2523 : 3) ได้จำแนกประเภทความรู้ออกเป็น 4 ด้าน คือ
           1. ทางด้านไสยศาสตร์ ซึ่งมีความลึกลับ ไม่สามารถอธิบายได้แจ้งชัดมนุษย์ใช้เพียงการคาดคะเนหรือเดาสุ่ม ความรู้ประเภทนี้มักเกี่ยวข้องกับการเชื่อโชคลางหรือ ผีสาง
           2. ความรู้จากประสบการณ์หรือสามัญสำนึก เป็นความรู้ที่ทุกคนเคยผ่านและรับความรู้สึก ความเข้าใจในความรู้นั้น ความรู้ดังกล่าวนี้บุคคลได้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น ความรู้เกี่ยวกับอาการร้อนหนาว ความกลัว ความเศร้า ความสนุกสนาน เป็นต้น               
           3. ความรู้แบบปรัชญา เป็นความรู้ที่มีความลึกซึ้ง และสลับซับซ้อนโดยอาศัยการพินิจพิจารณา หรือใช้ความนึกคิดอย่างมีเหตุผล มีลักษณะเป็นนามธรรม
           4. ความรู้แบบวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่บุคคลได้รับการสั่งสอนและเรียนรู้ทั้งทางด้านเนื้อหา (Body of knowledge) และวิธีการ (Methods) ในการศึกษา 
           ลาวัณย์ วิทยาวุฑฒิกุล (2526:7) ได้กล่าวถึงความรู้ทางสังคมศาสตร์โดยได้แยกประเภทดังนี้คือ
               1. ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง (Factual knowledge) หรือข้อเท็จจริง(Facts)  หมายถึงความรู้ที่เป็นข้อมูลเฉพาะอย่างเกี่ยวกับเหตุการณ์ สิ่งของ ผู้คนหรือปรากฏการณ์อื่นที่บุคคลได้พบ ได้เห็น สังเกตเห็น หรือได้รับรู้โดยประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นข้อมูลเบื้องต้น
               2. ความรู้ที่เป็นมโนมติ (Conceptual knowledge) หรือมโนมติ (Concepts) เป็นแนวความคิดที่สรุปรวบยอดได้จากข้อเท็จจริงที่แสดงถึงความเข้าใจต่อปรากฏการณ์หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นข้อเท็จจริง
               3. หลักการ (Generalization) เป็นแนวคิดสรุป ซึ่งอาจเป็นกฎเกณฑ์หลักการที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมโนมติตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปที่อาจจะมีความสัมพันธ์ในเชิงเป็นเหตุเป็นผลหรือเป็นเงื่อนไขแก่กันทั้งในทางสนับสนุนและปฏิเสธ
               4. ทฤษฎี (Theory) เป็นความรู้ที่ได้สรุปเป็นหลักการและได้รับการทดสอบแล้ว

           หน้าที่หลักของความรู้
           สุวรรณ บัวทวน ( 2528 : 11 ) กล่าวถึงจุดประสงค์ของความรู้หรือองค์ความรู้จะทำหน้าที่หลักอยู่ 2  ประการด้วยกัน  คือ
               1. ทำหน้าที่อธิบาย (Explanation) ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น                                       2. ทำหน้าที่คาดการณ์ (Prediction) ผลที่จะเกิดตามมา

           การวัดความรู้
           เนื่องจากความรู้ คือความสามารถทางพุทธิปัญญา  ซึ่งแบ่งได้หลายระดับดังกล่าว ดังนั้น  การวัดความรู้  จึงควรวัดความสามารถในทุกระดับ  เครื่องมือในการวัดความรู้จะต้องอาศัยแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ (Achievement  Test) ที่จะเป็นการวัดความสามารถทางปัญญา  และทักษะต่างๆ  ตลอดจนสมรรถภาพด้านต่างๆ  ที่ได้รับจากการเรียนรู้ในอดีตยกเว้นการวัดทางร่างกาย  การวัดความรู้ทางเครื่องมือแตกต่างกันตามความสามารถทางสติปัญญา (กิตติยา  รัตนากร,2531)  จากความหมาย  แหล่งที่มาระดับ และการวัดความรู้ดังกล่าวข้างต้น  ความรู้  หมายถึงความสามารถทางด้านสติปัญญาของบุคคลที่แสดงออก  โดยการจำ การระลึกได้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงทฤษฎี  กฎเกณฑ์  โครงสร้างและวิธีต่างๆ  โดยเครื่องมือที่ใช้วัดความรู้แต่ละชนิดจะต้องเหมาะสมกับการวัดความรู้ตามคุณลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น แบบทดสอบความเรียง  แบบทดสอบแบบตอบสั้น  และแบบทดสอบแบบเลือกตอบ  เป็นต้น  ส่วนใหญ่จะเป็นความรู้ที่ได้มาจากการสัมผัส ได้แก่  การเห็น  การได้ยิน  การได้จับต้อง  การสังเกต  และอาจหมายรวมถึงความรู้ที่ได้จากการคิดหาเหตุผลในตนเอง  ในการศึกษาครั้งนี้  สรุปได้ว่า  ความรู้  หมายถึง  ข้อเท็จจริง  ความจริงที่ได้จากประสบการณ์หรือได้เรียนรู้มาในอดีตเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
           ชวาล  แพรัตนกุล ( 2526 : 61 )  อธิบายว่า  การวัดความรู้  เป็นการวัดสมรรถภาพทางสมองด้านการระลึกออกมาของความทรงจำ  เป็นการวัดเกี่ยวกับเรื่องราวที่เคยมีประสบการณ์หรือเคยเรียนรู้  เคยเห็นและทำมาก่อน  การวักความรู้สามารถสร้างคำถามวัดสมรรถภาพได้หลายลักษณะ  และลักษณะของคำถามก็ความแตกต่างกันตามชนิดของความรู้  ความจำ  แต่มีลักษณะร่วมกันคือ  เป็นคำถามที่ให้ระลึกถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาที่จำได้ไว้ก่อนแล้ว
        เครื่องมือที่ใช้การวัดความรู้
           เครื่องมือที่จะวัดความรู้ซึ่งเป็นพฤติกรรมจากการเรียนรู้ วิเชียร  เกตุสิงห์ (2523 : 16) กล่าวว่าจะต้องอาศัยแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ (Achievement test)  ซึ่งจะเป็นการวัดความรู้ ทักษะและสมรรถภาพด้านต่างๆ  ที่ได้รับจากการเรียนรู้ในอดีตยกเว้นการวัดทางด้านร่างกาย และข้อสอบที่ใช้วัดโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
           1. แบบที่ครูสร้างขึ้นเอง (Teacher – made test)
           2. แบบทดสอบมาตรฐาน (Standardize test)
           ในการสร้างแบบทดสอบประเภทนี้ที่นิยมกันมากคือ แบบปรนัยชนิด
           - แบบเลือกตอบ (Multiple choice) ผู้ที่ถูกทดสอบจะเลือกตอบคำตอบที่ถูกที่สุดเท่านั้น
           - แบบทดสอบประเภทนี้ประกอบด้วยคำถามกับตัวเลือก ซึ่งประกอบด้วยตัวเลือกที่เป็นตัวถูกกับตัวเลือกที่เป็นตัวลวงและในข้อหนึ่งจะพยายามให้มี 4 – 5 ตัวเลือกในทางสังคมศาสตร์
           เตือนใจ  เกตุษา (2540) ได้กล่าวถึงการวัดผลทางสังคมศาสตร์ว่าควรวัดให้ครบทุกด้านโดยใช้เครื่องมือหลายอย่างประกอบกันและควรใช้วิธีการวัด ทั้งแบบเป็นทางการและแบบไม่เป็นทางการควบคู่กันไป การวัดผลแบบเป็นทางการ ได้แก่ การทดสอบหรือการใช้แบบทดสอบ ส่วนการวัดแบบไม่เป็นทางการนั้นเป็นการสังเกตพฤติกรรมหรือการซักถามและสำหรับเครื่องมือที่ใช้วัดนั้นแบบที่เป็นประโยชน์โดยตรงและสามารถสร้างขึ้นมาใช้ได้เองแยกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
        1. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ที่นิยมใช้กันมากที่สุด ได้แก่ แบบทดสอบซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
           1.1 แบบทดสอบปรนัย เป็นแบบทดสอบที่ผู้ตอบไม่มีอิสระในการเขียนตอบเนื่องจากจะถูกกำหนดคำตอบมาให้เลือกและจะกำหนดรูปแบบของคำถามดังนี้
               1.) ให้เลือกตอบทางใดทางหนึ่ง เช่น ถูก-ผิด จริง-ไม่จริง ใช่-ไม่ใช่
               2.) ให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดมาตอบ
               3.) ให้จับคู่คำตอบกับคำถามที่มีความสัมพันธ์กัน
               4.) ให้เติมคำหรือข้อความลงในช่องว่างให้ได้ความสมบูรณ์
           1.2 แบบทดสอบอัตนัย เป็นแบบทดสอบที่ผู้ตอบมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี คำถามอาจมีลักษณะที่เป็นแนวคำถามที่กว้างหรือแคบก็ได้ แบบทดสอบอัตนัยจะใช้วัดความรู้ด้านความเข้าใจ การนำไปใช้ ความคิดสร้างสรรค์หรือค่านิยม
               2. แบบวัดพฤติกรรมทางสังคมที่สำคัญ ๆ ได้แก่ แบบสอบถามการสังเกต แบบสำรวจรายการ มาตราวัดอันดับคุณภาพ (มาตราส่วนประมาณค่า) ระเบียนสะสมและสังคมมิติแบบสอบถาม เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดทัศนคติ ความคิดเห็นที่มีต่อเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ในทางสังคมศาสตร์ มีลักษณะของคำถาม 3 อย่าง คือ
            1. แบบจำกัดคำตอบ
           2. แบบไม่จำกัดคำตอบ
           3. แบบผสม
        การสังเกต  เป็นวิธีการเฝ้าติดตามพฤติกรรม ทั้งในด้านความรู้ความจำทักษะและทัศนคติอาจทำได้  2 รูปแบบ คือ
           1. การสังเกตโดยมีส่วนร่วมในกิจกรรม
           2. การสังเกตโดยไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรม
        แบบสำรวจรายการ ( Check list )  เป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคู่กันไป  การสังเกตเพื่อตรวจสอบพฤติกรรมต่างๆ  ดูว่าพฤติกรรมใดบรรลุถึงจุดประสงค์แล้ว  และพฤติกรรมใดยังไม่บรรลุถึงจุดประสงค์มาตราจัดอันดับคุณภาพ (มาตราส่วนประมาณค่า)  เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพของสิ่งที่ต้องการวัดที่ไม่อาจให้คะแนนออกมาอย่างชัดเจน  เช่น  การประเมินพฤติกรรมต่างๆ  ของบุคคลใด    ผู้ประเมินอาจใช้มาตราจัดอันดับคุณภาพควบคู่ไปกับการสังเกตประเมินดูว่าบุคคลนั้นมีพฤติกรรมที่ต้องการจะจัดอยู่ในระดับใด  คือ  ดีมากหรือดี  หรือพอใช้  หรือยังใช้ไม่ได้  วิธีการประเมินพฤติกรรมของบุคคลในทางสังคมศาสตร์จะใช้ตัวเลขเป็นเครื่องบอกคุณภาพของสิ่งที่ต้องการประเมิน  โดยมีเกณฑ์ไว้ว่า
               0 หมายถึง ยังใช้ไม่ได้ หรือน้อย
               1 หมายถึง พอใช้ หรือปานกลาง
               2 หมายถึง ดี หรือมาก
           หรืออาจจะกำหนดคุณภาพของสิ่งของที่ต้องการประเมินให้ละเอียดลงไปอีก  โดยใช้เลข 1 2 3 4 5 แทนคุณภาพของสิ่งที่ต้องการประเมิน โดยมีเกณฑ์ไว้ว่า
               1 หมายถึง ยังใช้ไม่ได้ หรือน้อยมาก
      2 หมายถึง พอใช้ หรือน้อย
      3 หมายถึง ปานกลาง
      4 หมายถึง ดี หรือมาก
      5 หมายถึง ดีมาก หรือมากที่สุด
           ระเบียนสะสม  เป็นเครื่องมือที่สำคัญอีกแบบหนึ่งในการวัดพฤติกรรมทางสังคม เพราะเป็นเครื่องมือสำหรับบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับพัฒนาการสามารถทำให้ผู้ใช้แปลความหมายของข้อมูลต่างๆ ได้อย่างถูกต้องไม่สับสนสังคมมิติ เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความสัมพันธ์ทางสังคมที่เรียกว่า Sociogram มีประโยชน์สำหรับใช้ในการจัดกลุ่มบุคคลจากแนวคิดที่เกี่ยวกับความรู้ดังกล่าวข้างต้น ความรู้ หมายถึงการรับรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง กฎเกณฑ์รายละเอียดต่างๆ ในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและปรากฏการณ์ทางสังคม อันเกิดจากการสังเกต การศึกษา ประสบการณ์ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ตามพื้นฐานหรือภูมิหลังของแต่ละบุคคล ที่บุคคลได้จดจำหรือเก็บรวบรวมไว้และสามารถแสดงออกมาในทางพฤติกรรมและวัดความสามารถแบ่งระดับความรู้ได้  6  ระดับ คือ ความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินผล ความรู้แบ่งออกได้เป็น  2 ประเภทใหญ่ ๆ เรียกว่าวิทยาศาสตร์และไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ในขณะเดียวกันความรู้ทำหน้าที่หลักอยู่ 2 ประการคือทำหน้าอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และทำหน้าที่คาดการณ์ผลที่จะเกิดตามมา โดยมีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้ได้แก่ องค์ประกอบด้านสติปัญญา และองค์ประกอบด้านที่ไม่ใช่สติปัญญา ความรู้
สรุป ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบด้วย
1.    ความรู้ด้านฮาร์ดแวร์(Hard ware)
1.1.ความรู้เรื่องเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องแม่(Server) เครื่องลูก(Client) องค์ประกอบหลักของคอมพิวเตอร์ แรม(Ram) รอม(Rom) คีย์บอร์ด(Keyboard) เมาท์(Mouse) จอคอมพิวเตอร์(Monitor) เครื่องพรินเตอร์(Printer)
1.2 ความรู้เรื่องอุปกรณ์สนับสนุน (Support device) เช่น อุปกรณ์ต่อพ่วง ฮาร์ดดิสก์ภายนอก (External Hard disk) แฟลชไดร์ฟ(USB Flash Drive) เครื่องสำรองไฟ(UPS: Uninterruptable Power Supply) และอุปกรณ์เสริมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
1.3 ความรู้เรื่องอุปกรณ์เชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ต โมเด็ม(Modem) การ์ดเครือข่าย(Network Adapter)หรือ การ์ดแลน(LAN)  เราเตอร์(Router)
2.    ความรู้ด้านซอฟต์แวร์(software)
2.1     ความรู้ด้านการแก้ไขปัญหา software (โปรแกรมJHCIS)และการบำรุงรักษา เมื่อโปรแกรมเกิดข้อผิดพลาด
2.2     ด้านการติดตั้ง(Install or Set up) และองค์ประกอบในการติดตั้ง
2.3     ระบบอินเตอร์เน็ต การใช้เน็ตเวิร์ค(Network) ในองค์กร
2.4     การเชื่อมต่อฐานข้อมูล(Connection) เพื่อการใช้งานร่วมกัน
2.5     การจัดเก็บฐานข้อมูล ระดับการจัดเก็บ (ในเครื่อง + External)
2.6     ระบบความปลอดภัย ของข้อมูล(Security system)
2.7     การใช้Antivirus และfirewall และการปรับปรุงรุ่น(Update)เป็นปัจจุบัน
3.    ด้านการดำเนินงาน(Operation)
3.1     ด้านการดำเนินงาน การกำหนดแผนงานโครงการด้านระบบฐานข้อมูล คำสั่งการดำเนินงาน  ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้มีอำนาจสั่งการ ผู้ใช้งาน คุณสมบัติผู้ทำงานระบบฐานข้อมูล ตารางการปฏิบัติงาน การสำรองข้อมูล การตรวจสอบคุณภาพข้อมูล การส่งข้อมูลเข้าหน่วยประมวลผลกลาง (Server สำนักงานสาธารณธารณสุขจังหวัด) การแก้ไขปัญหากรณีการดำเนินงานมีข้อบกพร่องหรือมีอุปสรรค
3.2     ความรู้ด้านทักษะการใช้งานโปรแกรม เช่น การอบรม สัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงานฯ หรือร่วมเป็นวิทยากรอบรม วิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านโปรแกรม หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องเช่น การใช้อินเตอร์เน็ต การวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานโปรแกรม JHCIS การใช้งาน การคีย์ข้อมูลตามหมวดบริการ งานรักษาพยาบาล  งานส่งเสริมฯ  งานป้องกันและควบคุมโรค งานฟื้นฟูสภาพ เป็นต้น ด้านความสะดวกในการใช้งาน จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ และสถานที่ ที่ตั้งอุปกรณ์ เป็นต้น

3.2 แนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติ (Attitude)
3.2.1 ความหมายทัศนคติ
ทัศนคติหรือเจตคติ (Attitude) มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า Aptus แปลว่า โน้มเอียง    ซึ่งนักวิชาการแต่ละท่านได้ให้ความหมายของทัศนคติ ไว้อย่างแตกต่างกันตามทรรศนะของตน ดังนี้
พงศ์ หรดาล (2540: 42) ให้ความหมายของทัศนคติไว้ว่า ทัศนคติ คือ ความรู้สึก ท่าที      ความคิดเห็นและพฤติกรรมของคนงานที่มีต่อเพื่อนร่วมงาน ผู้บริหาร กลุ่มคน องค์กรหรือสภาพแวดล้อมอื่นๆ โดยการแสดงออกในลักษณะของความรู้สึกหรือท่าทีในทางยอมรับหรือปฎิเสธ
Roger (1978 : 208 – 209) ได้กล่าวถึง ทัศนคติ ว่า เป็นความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆ อันเป็นผลเนื่องมาจากการเรียนรู้ ประสบการณ์และเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมหรือแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นๆ ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ทัศนคติเป็นนามธรรมและเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการแสดงออกด้านการปฏิบัติไม่ใช่แรงจูงใจ/แรงขับแต่เป็นสภาพแห่งความพร้อมที่จะโต้ตอบของบุคคลต่อสิ่งเร้า
Green & Kreuter. (1999 : 20)  ได้ให้ความหมายทัศนคติไว้ว่าเป็นความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งเร้าต่างๆ อันเป็นผลเนื่องจากการเรียนรู้ ประสบการณ์ และเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมหรือแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นๆ ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ทัศนคติเป็นนามธรรมและเป็นสิ่งเร้าที่จะทำให้เกิดการแสดงออกด้านการปฏิบัติไม่ใช่แรงจูงใจและแรงขับ แต่เป็นสภาพแห่งความพร้อมที่จะโต้ตอบของบุคคลต่อสิ่งเร้า
Newstrom และ Devis (2002: 207)  ให้ความหมายของทัศนคติไว้ว่า ทัศนคติ คือ ความรู้สึกหรือความเชื่อ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ตัดสินว่า พนักงานรับรู้สภาวะแวดล้อมของพวกเขาอย่างไรและผูกพันกับการกระทำของพวกเา หรือมีแนวโน้มของการกระทำอย่างไร และสุดท้ายมีพฤติกรรมอย่างไร
Hornby,A S. (2001:62) “Oxford Advanced Learner's Dictionary of Current English”  ให้ความหมายของทัศนคติไว้ว่า ทัศนคติ คือ วิถีทางที่คุณคิดหรือรู้สึกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือคนใดคนหนึ่ง และวิถีทางที่คุณประพฤติต่อใครหรือคนใดคนหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คุณคิดหรือรู้สึกอย่างไร
Gibson (2000: 102)  ให้ความหมายของทัศนคติไว้ว่า ทัศนคติ คือ ตัวตัดสินพฤติกรรมเป็นความรู้สึกเชิงบวกหรือเชิงลบ เป็นสภาวะจิตใจในการพร้อมที่จะส่งผลกระทบต่อการตอบสนองของบุคคลนั้นๆ ต่อบุคคลอื่นๆ ต่อวัตถุหรือต่อสถานการณ์ โดยที่ทัศนคตินี้สามารถเรียนรู้หรือจัดการได้โดยใช้ประสบการณ์
Schermerhorn (2000:75)  ให้ความหมายของทัศนคติไว้ว่า ทัศนคติ คือ การวางแนวความคิด ความรู้สึก ให้ตอบสนองในเชิงบวกหรือเชิงลบต่อคนหรือต่อสิ่งของ ในสภาวะแวดล้อมของบุคคลนั้นๆ และทัศนคตินั้นสามารถที่จะรู้หรือถูกตีความได้จากสิ่งที่คนพูดออกมาอย่างไม่เป็นทางการ หรือจากการสำรวจที่เป็นทางการ หรือจากพฤติกรรมของบุคคลเหล่านั้น
        สรุป ทัศนคติ หมายถึง ความรู้สึก ความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมที่แสดงออกต่อสิ่งใดใดสิ่งหนึ่งหรือคนใดคนหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคิดหรือรู้สึกอย่างไร  เป็นปฏิกิริยาโต้ตอบ  โดยการประมาณค่าว่าชอบหรือไม่ชอบ  ที่จะส่งผลกระทบต่อการตอบสนองของบุคคลในเชิงบวกหรือเชิงลบต่อบุคคล  สิ่งของและสถานการณ์ ในสภาวะแวดล้อมของบุคคลนั้นๆ  โดยที่ทัศนคตินี้สามารถเรียนรู้  หรือจัดการได้โดยใช้ประสบการณ์  และทัศนคตินั้นสามารถที่จะรู้  หรือถูกตีความได้จากสิ่งที่คนพูดออกมาอย่างไม่
เป็นทางการ  หรือจากการสำรวจที่เป็นทางการ  หรือจากพฤติกรรมของบุคคลเหล่านั้น
3.2.2 แหล่งที่มาของการเกิดทัศนคติ
ที่มาของการเกิดทัศนคติเกิดมาจากหลายปัจจัย ดังนี้ (http://thesisavenue.blogspot.com)
1. ประสบการณ์โดยตรงของบุคคล (Personal Experience) เนื่องจากในชีวิตประจำวันของบุคคล จำเป็นต้องติดต่อสัมพันธ์สิ่งต่าง ๆ รอบตัวตลอดเวลา จึงมีการประเมินสิ่งใหม่และประเมินสิ่งเก่าซ้ำซาก กระบวนการประเมินเหล่านี้ทำให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งพัฒนาขึ้นเป็นทัศนคติที่มีต่อสิ่งต่าง ๆนอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่น ๆ อันเกิดจากตัวบุคคลนั้นเองที่มีอิทธิพลต่อการประเมินวัตถุทางการตลาดโดยตรงที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1.1 ความต้องการ (Needs) เนื่องจากความต้องการของบุคคลนั้นไม่อยู่กับที่ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย แต่จะเปลี่ยนแปลงแปรผันไปตามกาลเวลา จึงทำให้ทัศนคติของคนเปลี่ยนแปลงไปตามด้วย วัตถุอย่างเดียวกันจะได้รับการประเมินต่างกัน ในแต่ละช่วงของชีวิต
1.2 แนวความคิดเกี่ยวกับตนเอง (Self concept) ซึ่งหมายถึงผลรวมของความคิดและความรู้สึกทั้งหมดที่บุคลมองตัวเองว่ามีลักษณะอย่างไร เคยเป็นอย่างไร และคาดหวังว่าจะให้เป็นอย่างไรในอนาคตและเมื่อบุคคลมีแนวความคิดเกี่ยวกับตนเองอย่างไรแล้ว ก็จะมีผลสะท้อนให้บุคคลแสดงพฤติกรรมไปตามนั้นด้วย
1.3 บุคลิกภาพ (Personality) บุคลิกภาพของบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งคู่กับแนวความคิดแห่งตนที่มีอิทธิพลต่อการประเมินวัตถุ บุคคลมีบุคลิกภาพเฉพาะตัว ก้าวร้าว เฉื่อยชาเก็บตัวหรือเปิดเผย สิ่งดังกล่าวเหล่านี้มีผลกระทบต่อการก่อตัวเป็นทัศนคติของบุคคลนั้นทั้งสิ้น
2. การเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มต่างๆ (Group Associations) คนเราทุกคนย่อมได้รับอิทธิพลไม่มากก็น้อยจากสมาชิกคนอื่นๆ ที่ตนเองเข้าไปร่วมอยู่ด้วยเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านทัศนคติที่เรามีต่อผลิตภัณฑ์ จริยธรรม สวัสดิภาพและสถานการณ์แวดล้อมอื่นๆ กลุ่มตีคุณค่าหรือมีความคิดอย่างไร ก็จะจูงใจให้บุคคลมีทัศนคติคล้อยตามไปด้วย กลุ่มดังกล่าวได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเพื่อนฝูง   เพื่อนร่วมงาน รวมทั้งกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ที่ถ่ายทอดกันมา นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีต่อผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านทัศนคติของบุคคลโดยตรง
3. ปัจจัยอิทธิพลอื่นๆ (Influential Others) การก่อตัวของทัศนคติของบุคคลภายนอกเกิดจากแหล่งที่มาหลายทางดังกล่าวมาแล้ว ทัศนคติของบุคคลหรือทัศนคติของผู้บริโภค ยังสามารถก่อตัวขึ้นหรืออาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จากการที่ผู้บริโภคได้เข้าไปติดต่อสัมผัสกับบุคคลที่มีอิทธิพลที่ตนเอง
ยอมรับและศรัทธาอีกด้วย เช่น เพื่อนที่ตนเองนับถือ ญาติพี่น้อง และผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
3.2.3 ลักษณะของทัศนคติ
เนื่องจากว่านักจิตวิทยาได้ศึกษาในความหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงควรกล่าวถึงลักษณะ  รวมๆ ของทัศนคติที่ทำให้เกิดความเข้าใจทัศนคติให้ดีขึ้น (ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร,2545: 138) ซึ่งลักษณะของทัศนคติ สรุปได้ดังนี้
1. ทัศนคติเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้
2. ทัศนคติมีลักษณะที่คงทนถาวรอยู่นานพอสมควร
3. ทัศนคติมีลักษณะของการประเมินค่าอยู่ในตัว คือ บอกลักษณะดี-ไม่ดี ชอบ-ไม่ชอบเป็นต้น
4. ทัศนคติทำให้บุคคลที่เป็นเจ้าของพร้อมที่จะตอบสนองต่อที่หมายของทัศนคติ
5. ทัศนคติบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล บุคคลกับสิ่งของและบุคคลกับสถานการณ์ นั่นคือ ทัศนคติย่อมมีที่หมายนั่นเอง
3.2.4 ประเภทของทัศนคติ
          การแสดงออกทางทัศนคติสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท (ดารณี พานทอง พาลุสุข และคณะ, 2542 : 43) คือ
1. ทัศนคติในทางบวก (Positive Attitude) คือ ความรู้สึกต่อสิ่งแวดล้อมในทางที่ดีหรือยอมรับ ความพอใจ เช่น นักศึกษาที่มีทัศนคติที่ดีต่อการโฆษณา เพราะวิชาการโฆษณาเป็นการให้บุคคลได้มีอิสระทางความคิด
2. ทัศนคติในทางลบ (Negative Attitude) คือ การแสดงออก หรือความรู้สึกต่อสิ่งแวดล้อมในทางที่ไม่พอใจ ไม่ดี ไม่ยอมรับ ไม่เห็นด้วย เช่น นิดไม่ชอบคนเลี้ยงสัตว์ เพราะเห็นว่าทารุณสัตว์
3. การไม่แสดงออกทางทัศนคติ หรือมีทัศนคติเฉยๆ (Negative Attitude) คือ มีทัศนคติเป็นกลางอาจจะเพราะว่าไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ หรือในเรื่องนั้นๆ เราไม่มีแนวโน้มทัศนคติอยู่เดิมหรือไม่มีแนวโน้มทางความรู้ในเรื่องนั้นๆ มาก่อน เช่น เรามีทัศนคติที่เป็นกลางต่อตู้ไมโครเวฟ เพราะเราไม่มีความรู้เกี่ยวกับโทษหรือคุณของตู้ไมโครเวฟมาก่อน
          จะเห็นได้ว่าการแสดงออกของทัศนคตินั้น เกิดจากการก่อตัวของทัศนคติที่สะสมไว้เป็นความคิดและความรู้สึก จนสามารถแสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมา ตามทัศนคติต่อสิ่งนั้น
3.2.5 องค์ประกอบของทัศนคติ
จากการตรวจเอกสารเกี่ยวกับองค์ประกอบของทัศนคติ พบว่า มีผู้เสนอความคิดไว้ 3 แบบ คือ ทัศนคติแบบ 3 องค์ประกอบ ทัศนคติแบบ 2 องค์ประกอบ และทัศนคติแบบ 1 องค์ประกอบ (ธีระพร อุวรรณโณ อ้างโดย http://www.gotoknow.org/posts/280647, 2528 : 162 -163) ดังนี้
1. ทัศนคติมี 3 องค์ประกอบ แนวคิดนี้จะระบุว่า ทัศนคติมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่            
1.1 องค์ประกอบด้านปัญญา (Cognitive Component) ประกอบด้วยความเชื่อ ความรู้ ความคิดและความคิดเห็น
1.2 องค์ประกอบด้านอารมณ์ ความรู้สึก (Affective Component) หมายถึงความรู้สึกชอบ-ไม่ชอบ หรือท่าทางที่ดี-ไม่ดี
1.3 องค์ประกอบด้านพฤติกรรม (Behavioral Component) หมายถึง แนวโน้มหรือความพร้อมที่บุคคลจะปฏิบัติ
มีนักจิตวิทยาที่สนับสนุนการแบ่งทัศนคติออกเป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ Kretch, Crutchfield , Pallachey (1962) และ Triandis (1971)
2. ทัศนคติมี 2 องค์ประกอบ แนวคิดนี้จะระบุว่า ทัศนคติมี 2 องค์ประกอบ ได้แก่
2.1 องค์ประกอบด้านปัญญา (Cognitive Component)
2.2 องค์ประกอบด้านอารมณ์ ความรู้สึก (Affective Component)
มีนักจิตวิทยาที่สนับสนุนการแบ่งทัศนคติออกเป็น 2 องค์ประกอบ ได้แก่ Katz (1950) และ Rosenberg (1956, 1960, 1965)
3. ทัศนคติมีองค์ประกอบเดียวแนวคิดนี้จะระบุว่า ทัศนคติมีองค์ประกอบเดียว คือ อารมณ์ความรู้สึกในทางชอบหรือไม่ชอบที่บุคคลมีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด
นักจิตวิทยาที่สนับสนุนแนวคิดนี้ ได้แก่ Bem (1970) Fishbein และ Ajzen (1975) Insko (1976)
Sharon และ Saul (1996 : 370)  กล่าวว่า ทัศนคติ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้
1. องค์ประกอบด้าน ความรู้ ความเข้าใจ (Cognitive Component) หมายถึง ความเชื่อเชิงการประเมินเป้าหมาย โดยอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อ จินตนาการและการจำ
2. องค์ประกอบด้านอารมณ์ ความรู้สึก(Affective Component) หมายถึง ความรู้สึกในทางบวก หรือลบ หรือทั้งบวกและลบต่อเป้าหมาย
3. องค์ประกอบด้านพฤติกรรม (Behavioral Component) หมายถึง แนวโน้มของพฤติกรรม หรือแนวโน้มของการแสดงออกต่อเป้าหมาย
Gibson (2000: 103) กล่าวว่า ทัศนคติ เป็นส่วนที่ยึดติดแน่นกับบุคลิกภาพของบุคคลเราซึ่งบุคคลเราจะมีทัศนคติที่เป็นโครงสร้างอยู่แล้ว ทางด้านความรู้สึก ความเชื่อ อันใดอันหนึ่ง โดยที่องค์ประกอบนี้จะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งหมายความว่า การเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบหนึ่งทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในอีกองค์ประกอบหนึ่ง ซึ่งทัศนคติ 3 องค์ประกอบ มีดังนี้
1. ความรู้สึก (Affective) องค์ประกอบด้านอารมณ์หรือความรู้สึก ของทัศนคติ คือ การได้รับการถ่ายทอด การเรียนรู้มาจากพ่อ แม่ ครู หรือกลุ่มของเพื่อนๆ
2. ความรู้ ความเข้าใจ (Cognitive) องค์ประกอบด้านความรู้ ความเข้าใจของทัศนคติจะประกอบด้วย การรับรู้ของบุคคล ความคิดเห็นและความเชื่อของบุคคล หมายถึง กระบวนการคิดซึ่งเน้นไปที่การใช้เหตุผลและตรรกะ องค์ประกอบที่สำคัญของความรู้ ความเข้าใจ คือ ความเชื่อในการประเมินผลหรือความเชื่อที่ถูกประเมินผลไว้แล้วโดยตัวเองประเมิน ซึ่งความเชื่อเหล่านี้จะแสดงออกมาจากความประทับใจ การชอบหรือไม่ชอบ ซึ่งบุคคลเหล่านั้นรู้สึกต่อสิ่งของ หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
3. พฤติกรรม (Behavioral) องค์ประกอบด้านความรู้ ความเข้าใจของทัศนคติจะหมายถึง แนวโน้มหรือความตั้งใจ (intention) ของคนที่จะแสดงบางสิ่งบางอย่างหรือที่จะกระทำ (ประพฤติ)   บางสิ่งบางอย่างต่อคนใดคนหนึ่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในทางใดทางหนึ่ง เช่น เป็นมิตร ให้ความอบอุ่น ก้าวร้าว เป็นศัตรู เป็นต้น โดยที่ความตั้งใจนี้อาจจะถูกวัด หรือประเมินออกมาได้ จากการพิจารณาองค์ประกอบทางด้านพฤติกรรมของทัศนคติ
Schermerhorn (2000 : 76) กล่าวว่า ทัศนคติ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้
1. องค์ประกอบด้าน ความรู้ ความเข้าใจ (Cognitive Component) คือ ทัศนคติที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ความคิดเห็น ความรู้และข้อมูลที่บุคคลคนหนึ่งมี ซึ่งความเชื่อจะแสดงให้เห็นถึงความคิดของคนหรือสิ่งของ และข้อสรุปที่บุคคลได้มีต่อบุคคลหรือสิ่งของนั้นๆ เช่น งานของฉันขาดความรับผิดชอบ เป็นต้น
2. องค์ประกอบด้านอารมณ์ ความรู้สึก (Affective Component) คือ ความรู้สึกเฉพาะอย่างซึ่งเกี่ยวข้องกับผลกระทบส่วนบุคคล ซึ่งได้จากสิ่งเร้าหรือสิ่งที่เกิดก่อนทำให้เกิดทัศนคตินั้นๆ เช่น ฉันไม่ชอบงานของฉัน เป็นต้น
3. องค์ประกอบด้านพฤติกรรม(Behavioral Component) คือ ความตั้งใจที่จะประพฤติในทางใดทางหนึ่ง โดยมีรากฐานมาจากความรู้สึกเฉพาะเจาะจงของบุคคล หรือทัศนคติของบุคคล เช่น ฉันกำลังไปทำงานของฉัน เป็นต้น
Katz ( อ้างถึงในLoudon และ Della Bitta,1993 : 425) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของทัศนคติที่สำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. หน้าที่ในการปรับตัว (Adjustment function) ทัศนคติช่วยให้เราปรับตัวเข้าหาสิ่งที่ทำให้ได้รับความพึงพอใจหรือได้รางวัลขณะเดียวกันก็หลีกเลี่ยงต่อสิ่งที่ไม่ปรารถนา ไม่พอใจหรือให้โทษนั้นคือยึดแนวทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุดและหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นโทษให้เกิดน้อยที่สุด ซึ่งช่วยในการปรับตัวของแต่ละบุคคลให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นเกิดความพอใจ คือ เมื่อเราเคยมีประสบการณ์ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาก่อนและเราได้ประสบกับสิ่งนั้นอีก เราจะพัฒนาการตอบสนองของเราในทิศทางที่เราต้องการ
2. หน้าที่ในการป้องกันตน (Ego-defensive function) ทัศนคติช่วยปกป้องภาพลักษณ์แห่งตน (ego or self image) ต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจและแสดงออกมาเป็นกลไกที่ป้องกันตนเอง ใช้ในการปกป้องตัวเองโดยการสร้างความนิยมนับถือตนเอง หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ไม่พอใจหรือสร้างทัศนคติขึ้นมาเพื่อรักษาหน้า
3. หน้าที่ในการแสดงออกของค่านิยม (Value expressive function) ในขณะที่ทัศนคติที่ปกป้องตนเอง ได้สร้างขึ้นเพื่อปกป้องภาพลักษณ์ของตนเองหรือเพื่อปิดบังทัศนคติที่แท้จริงไม่ให้ปรากฎ แต่ทัศนคติที่ทำหน้าที่แสดงออกถึงค่านิยมจะพยายามแสดงลักษณะที่แท้จริงของตนเองทำหน้าที่ให้บุคคลแสดงค่านิยมของตนเอง เป็นการแสดงออกทางทัศนคติที่จะสร้างความพอใจให้กับบุคคลที่แสดงทัศนคตินั้นออกมา เพราะเป็นการแสดงค่านิยมพื้นฐานที่แต่ละบุคคลพอใจ
4. หน้าที่ในการแสดงออกถึงความรู้ (Knowledge function) มนุษย์ต้องการเกี่ยวข้องกับวัตถุต่างๆ รอบข้าง ดังนั้น จึงต้องแสวงหาความมั่นคง ความหมาย ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น ทัศนคติจะเป็นสิ่งที่ใช้ประเมินและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม และเป็นมาตรฐานเพื่อเปรียบเทียบ หรือเป็นขอบเขตแนวทางสำหรับอ้างอิงเพื่อหาทางเข้าใจ ให้สามารถเข้าใจโลกและสิ่งแวดล้อมได้ง่ายๆขึ้น เพราะคนเราได้รับรู้แล้วครั้งหนึ่งก็จะเก็บประสบการณ์เหล่านั้นๆ ไว้เป็นส่วนๆ เมื่อเจอสิ่งใหม่จะนำประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมมาเป็นกรอบอ้างอิงว่าสิ่งใดควรรับรู้ สิ่งใดควรหลีกเลี่ยง ซึ่งทัศนคติช่วยให้คนเราเข้าใจสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวเรา โดยเราสามารถตีความ หรือประเมินค่าสิ่งที่อยู่รอบตัวเราได้
สรุป ทัศนคติ หมายถึง ความรู้สึก ความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมที่แสดงออกต่อสิ่งใดใดสิ่งหนึ่งหรือคนใดคนหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคิดหรือรู้สึกอย่างไร การเกิดทัศนคติเกิดได้หลายปัจจัยอาจเกิดจากประสบการส่วนบุคคล การรวมกลุ่ม หรืออิทธิพลอื่นๆ ทัศนคติเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ คงทนถาวร บุคคลที่เป็นเจ้าของพร้อมจะสามารถตอบสนอง การที่บุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  มีทัศนคติทางด้านความรู้สึก ความเชื่อ อันใดอันหนึ่งองค์ประกอบนี้จะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ความรู้สึกซึ่งเป็นองค์ประกอบด้านอารมณ์ ได้รับการถ่ายทอดมาจากครอบครัว ครู กลุ่มเพื่อน ความรู้ความเข้าใจ เป็นกระบวนที่ใช้เหตุผลและตรรกะแสดงออกโดยชอบ ไม่ชอบ และพฤติกรรม จะแสดงถึงแนวโน้มความตั้งใจบางอย่างที่จะกระทำในทางหนึ่ง
3.2.6 การวัดทัศนคติ
การวัดทัศนคติเป็นการวัดภาวะโน้มเอียงในการจะแสดงออก ไม่ใช่เป็นการกระทำ แต่เป็นความรู้สึก ซึ่งมีลักษณะอัตนัย (Subjective) บุคคลอาจไม่ให้ข้อเท็จจริงด้วยความจริงใจ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องส่วนตัวและการแสดงออกต่อสิ่งใดนั้นไม่ว่าเป็นรูปวาจาหรือการเขียน บุคคลมักจะไตร่ตรองถึงความเหมาะสมตามสภาพการณ์ทางสังคมคือ ตามปกติวิสัย ตามค่านิยม ตามการยอมรับและการไม่ยอมรับ และการเห็นชอบหรือไม่ชอบของคนส่วนใหญ่ในสังคม (รุ่งนภา บุญคุ้ม,2536)
ดังนั้น จึงยังไม่มีผู้ใดค้นพบวิธีการที่จะวัดทัศนคติหรือท่าทีความรู้สึกของบุคคลโดยตรงอันจะเป็นดรรชนีที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้อย่างชัดเจน นอกจากเพียงการวัดทัศนคติจากการบันทึกคำพูด และพยายามหาความสัมพันธ์ระหว่างคำพูดของบุคคลนั้นกับทัศนคติ ซึ่งผู้ทำการวัดสามารถมองเห็นและเป็นเพียงการคาดประมาณ (Estimate) ทัศนคติของบุคคลนั้นเท่านั้น
การวัดทัศนคติที่ปฏิบัติกันในปัจจุบันมีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
1. การสังเกตจากพฤติกรรมของบุคคล วิธีการกระทำได้ยากและผลลัพธ์ไม่อาจให้ความมั่นใจได้ว่าจะถูกต้อง ทั้งนี้เนื่องมาจากการแสดงออกของบุคคลเป็นอากัปกริยานั้นอาจไม่สะท้อนหรือส่อให้เราทราบถึงทัศนคติที่แท้จริงของเขาได้
2. วิธีการรายงานด้วยคำพูด (Verbal Report) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionaire) และ/หรือการสัมภาษณ์ (Interview) ที่มีลักษณะแบบปรนัย (Objective)
3. วิธีแปลความ (Interpretive Method) เป็นวิธีหาทัศนคติของบุคคลแบบอัตนัย โดยที่ผู้ถูกถามมักไม่รู้ถึงวัตถุประสงค์ของผู้ทำการศึกษาไม่ระแวงสงสัยหรือรู้สึกหวั่นเกรงที่จะตอบ คำถามหรือแสดงความรู้สึกนึกคิดและไม่ถูกจำกัดในการตอบ ทั้งในด้านเวลาและขอบเขตของเนื้อหา เป็นวิธีที่สามารถวัดทัศนคติของบุคคลได้ชัดเจน ละเอียด ถูกต้องที่สุด แต่มีข้อจำกัดอยู่ที่ว่าต้องใช้ผู้ศึกษาที่มีความสามารถมีความชำนาญทางจิตวิทยาอย่างลึกซึ้งและใช้เวลามาก จึงเหมาะสำหรับใช้กับคนจำนวนน้อย
  นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมการวัดทัศนคติว่ามีอยู่ 4 วิธี คือ (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ อ้างโดยวีระพลและเฉลียว,2538)
1. มาตรการวัดแบบของเธอร์สโตน (Thurstone’s Type Scale) กำหนดโครงสร้างนำ    ข้อความไปตัดสินและแจกแจงความถี่ ความถี่สะสม หาความแปรปรวน แล้วนำแบบวัดชุดเดิมให้คัดเลือกอีกครั้ง
2. มาตรวัดแบบของลิเคอร์ท (Likert Scale,1932) เป็นการวัดที่ใช้กันอย่างกว้างขวางกว่าแบบอื่นๆ และสามารถวัดได้เกือบทุกเรื่อง และยังมีความเที่ยงตรงสูงกว่าแบบอื่นอีกด้วย แต่ละมาตรวัดห่างเท่ากันเป็น 0 1 2 3 4 เป็น positive หรือ negative
3. มาตรวัดแบบของกัตต์แมน (Guttman Scale) มิใช่วิธีสร้างและพัฒนาทัศนคติ แต่เป็นวิธีประเมินหรือวิเคราะห์มาตราส่วน
4. มาตรวัดแบบออสกูด (Osgood’s Scale) ใช้วัดทัศนคติและวัดบุคลิกภาพ ความคิดเห็น ความเชื่อและความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ โดยแยกความแตกต่างของมโนทัศน์
ผาสุวรรณ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (2532 : 68) อธิบายว่า การวัดด้านจิตนิสัย หรือความรู้สึกเป็นการวัดพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกหรืออารมณ์ เช่น ความสนใจ ความพอใจ ความซาบซึ้ง เจตคติหรือทัศนคติ ค่านิยมการปรับตัว ทัศนคติเป็นการวัดถึงความรู้สึกของบุคคลอันเนื่องมาจากการ เรียนรู้ หรือประสบการณ์ต่อสิ่งต่างๆ ที่ค่อนข้างถาวรในระยะหนึ่ง แต่อาจเปลี่ยนได้และทัศนคติก็สามารถระบุ ทิศทาง ความมากน้อยหรือความเข้มได้
1. ข้อตกลงเบื้องต้นในการวัดทัศนคติ (เชิดศักดิ์ โฆวาสินธ์,2522 : 94-95) ดังนี้
1.1 การศึกษาทัศนคติเป็นการศึกษาความคิดเห็น ความรู้สึกของบุคคลที่มีลักษณะ   คงเส้นคงวาหรืออย่างน้อย เป็นความคิดเห็นหรือความรู้สึกที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลาหนึ่ง
1.2 ทัศนคติไม่สามารถสังเกตหรือวัดได้โดยตรง ดังนั้นการวัดทัศนคติจึงเป็นการวัดทางอ้อมจากแนวโน้มที่บุคคลจะแสดงออกหรือประพฤติปฏิบัติอย่างมีระเบียบแบบแผนคงที่ไม่ใช่พฤติกรรมโดยตรงของมนุษย์
1.3 การศึกษาทัศนคติของมนุษย์นั้น ไม่ใช่เป็นการศึกษาแต่เฉพาะทิศทางทัศนคติของบุคคลเหล่านั้น แต่ต้องศึกษาถึงระดับความมากน้อยหรือความเข้มของทัศนคติด้วย
2. การวัดทัศนคติ มีหลักเบื้องต้น 3 ประการ (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์,2546 : 222) ดังนี้
2.1 เนื้อหา (Content) การวัดทัศนคติต้องมีสิ่งเร้าไปกระตุ้นให้แสดงกริยาท่าทีออก สิ่งเร้า โดยทั่วไปได้แก่ สิ่งที่ต้องการทำ
2.2 ทิศทาง (Direction) การวัดทัศนคติโดยทั่วไปกำหนดให้ทัศนคติมีทิศทางเป็น เส้นตรงและต่อเนื่องกันในลักษณะเป็นซ้าย-ขวาและบวก - ลบ
2.3 ความเข้ม (Intensity) กริยาท่าทีและความรู้สึกที่แสดงออกต่อสิ่งเร้านั้น มีปริมาณมากหรือน้อยแตกต่างกัน ถ้ามีความเข้มสูงไม่ว่าจะเป็นไปในทิศทางใดก็ตาม จะมีความรู้สึก หรือท่าทีรุนแรงมากกว่าที่มีความเข้มปานกลาง
3. มาตรวัดทัศนคติ (Attitude Scale) เครื่องมือที่ใช้วัดทัศนคติ เรียกว่ามาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) เครื่องมือวัดทัศนคติที่นิยมใช้และรู้จักกันแพร่หลายมี 4 ชนิด ได้แก่ มาตรวัดแบบเธอร์สโตน (Thurstone Type Scale) มาตรวัดแบบลิเคอร์ท (Likert Scale) มาตรวัดแบบกัตต์แมน (Guttman Scale) และมาตรวัดของออสกูด (Osgood Scale) ซึ่งแต่ละประเภทมีข้อจำกัด ข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน ดังนั้นการจะเลือกใช้มาตรวัดแบบใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความจำกัดของการศึกษา(บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์,2547 : 294-306)
การประเมินค่าทัศนคติ ในการวัดทัศนคติหรือความรู้สึกนึกคิดของคนเราต่อสิ่งหนึ่ง เราต้องเสนอข้อความแสดงทัศนคติต่อสิ่งนั้นๆ หลายๆ ข้อความ ให้ผู้รับการทดสอบประเมินค่าแต่ละข้อความ ถือเป็น 1 มาตร แล้วนำคะแนนจากมาตรต่างๆ มารวมเป็นคะแนนรวมและยึดคะแนนนี้เป็นหลักในการ ตีความ เนื่องจากถือว่าข้อความต่างๆ ก็วัดจากทัศนคติต่อสิ่งเดียวกัน มีข้อความหลายข้อความ เพื่อให้ ข้อความเที่ยง น่าเชื่อถือมากขึ้น การให้คะแนน
เรากำหนดให้การแสดงทัศนคติทางบวกเป็น
เห็นด้วยอย่างยิ่ง                     เท่ากับ 5 คะแนน
เห็นด้วย                             เท่ากับ 4 คะแนน
ไม่แน่ใจ                              เท่ากับ 3 คะแนน
ไม่เห็นด้วย                           เท่ากับ 2 คะแนน
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง                  เท่ากับ 1 คะแนน
หากข้อความแสดงทัศนคติทางลบ การให้คะแนนจะให้ในทางกลับกัน คือ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง                     เท่ากับ 1 คะแนน
เห็นด้วย                             เท่ากับ 2 คะแนน
ไม่แน่ใจ                              เท่ากับ 3 คะแนน
ไม่เห็นด้วย                           เท่ากับ 4 คะแนน
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง                  เท่ากับ 5 คะแนน
เมื่อผู้ได้รับการทดสอบประเมินค่าข้อความทั้งหมดทีละข้อความแล้ว นำคะแนนที่ได้มารวมเป็นคะแนนของทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่ทดสอบ ผู้สอบ ผู้เสนอวิธีวัดแบบนี้ คือ Likert ซึ่งข้อตกลงเบื้องต้นที่สำคัญ คือ ข้อความต่างๆ ก็ใช้วัดทัศนคติของสิ่งเดียวกัน การคัดเลือกข้อความที่ใช้วัดจริงเป็นเรื่องสำคัญมาก (http://www.learners.in.th/blogs/posts/221889)
วิธีวัดทัศนคติทั้งหมดที่เสนอไปแล้วนี้ ในปัจจุบันยังหาข้อสรุปที่แน่ชัดไม่ได้ว่าวิธีใดเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพราะแต่ละวิธีต่างก็มีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ การที่จะสรุปว่าเทคนิควิธีวัดใดเป็นวิธีที่ดีที่สุดนั้น    จึงขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการวัดแต่ละอย่าง จากความคิดดังกล่าว ออพเพนไฮม์ (Oppenheim, 1966) ได้เสนอแนะไว้ว่า ในการวัดทัศนคติโดยใช้มาตรวัด หากต้องการที่จะศึกษารูปแบบทัศนคติ (attitude pattern) หรือการสำรวจทฤษฎีทัศนคติ (theories of attitudes) มาตรวัดของลิเคอร์ท (Likert Scale) จะเป็นเทคนิควิธีที่เหมาะสมที่สุด หรือหากต้องการที่จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ (attitude change) วิธีของกัตท์แมน (Guttman) จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดหรือหากต้องการที่จะศึกษาความแตกต่างของกลุ่ม (group differences) การใช้วิธีของเธอร์สโตน (Thurstone) จะเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด เป็นต้น
        สรุปทัศนคติ  หมายถึง  ความรู้สึก ความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมที่แสดงออกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือคนใดคนหนึ่ง  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคิดหรือรู้สึกอย่างไร  เป็นปฏิกิริยาโต้ตอบ  โดยการประมาณค่าว่าชอบหรือไม่ชอบ  ที่จะส่งผลกระทบต่อการตอบสนองของบุคคลในเชิงบวกหรือเชิงลบต่อบุคคล  สิ่งของและสถานการณ์ ในสภาวะแวดล้อมของบุคคลนั้นๆ ทัศนคติที่มีความสำคัญต่อองค์การโดยรวม เช่นต่อผู้บริหาร ต่อบุคลากรในองค์การ   วิธีวัดทัศนคตินั้น    ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการวัดแต่ละอย่าง จากความคิดดังกล่าว ออพเพนไฮม์ (Oppenheim, 1966) ได้เสนอแนะไว้ว่า ในการวัดทัศนคติโดยใช้มาตรวัด หากต้องการที่จะศึกษารูปแบบทัศนคติ (attitude pattern) หรือการสำรวจทฤษฎีทัศนคติ (theories of attitudes) มาตรวัดของลิเคอร์ท (Likert Scale) จะเป็นเทคนิควิธีที่เหมาะสมที่สุด หรือหากต้องการที่จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ (attitude change) วิธีของกัตท์แมน (Guttman) จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดหรือหากต้องการที่จะศึกษาความแตกต่างของกลุ่ม (group differences) ควรใช้วิธีของเธอร์สโตน (Thurstone)  ในการศึกษาครั้งนี้ได้ประยุกต์มาตรวัดของลิเคอร์ท (Likert Scale) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในโซน4 จังหวัดอุดรธานี โดยใช้ Scale วัดระดับทัศนคติ เป็น 5 อันดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด  ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลทัศนคติที่มีค่าความน่าเชื่อถือและใกล้เคียงความเป็นจริงของกลุ่มประชากร มากที่สุด

4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จากการศึกษาค้นคว้า  ทบทวนวรรณกรรมและผลการวิจัยที่ผ่านมา  ยังไม่พบว่ามีการศึกษาวิจัย  เรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยตรงมาก่อน  มีแต่การวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไปและใกล้เคียง  ผู้ศึกษาจึงขอนำเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาครั้งนี้  ดังต่อไปนี้
4.1งานวิจัยในประเทศ
อิสราวุธ  สุลา.ได้ศึกษา ความต้องการพัฒนาความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการระบบฐานข้อมูลขององค์การ โดยมีที่มาของข้อมูล(Data) จากโปรแกรมระบบฐานข้อมูลสถานีอนามัยและหน่วยบริการปฐมภูมิ(JHCIS) ด้านฮาร์ดแวร์(Hard ware) ได้แก่การสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์ ต่อการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูล สถานีอนามัยและหน่วยบริการปฐมภูมิ(JHCIS)  เมื่อเปรียบเทียบค่า p-value < 0.001 พบว่า การสนับสนุนจากองค์การ ภาพรวมมีความสัมพันธ์ระดับสูงทางบวกกับการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลสถานีอนามัยและหน่วยบริการปฐมภูมิ(JHCIS) นอกจากนั้นการสนับสนุนด้านบุคคล แรงจูงใจและวิธีการจัดการ ก็ส่งผลให้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านฮาร์ดแวร์(Hard ware) ในทิศทางที่ดีขึ้นเช่นเดียวกัน
โอเล็ด  ศรีมุกดา.(2556).ได้ศึกษา ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาล โรงพยาบาลแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลร้อยละ 53.23 มีความรู้เกี่ยวกับการบันทึกทางการพยาบาลอยู่ในระดับดี ร้อยละ 45.16 มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 1.61 มีความรู้อยู่ในระดับต่ำ และศึกษาด้านทัศนคติ ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลมีทัศนคติต่อการบันทึกการพยาบาล ทัศนคติด้านนโยบาย ด้านการจัดอัตรากำลังและด้านการจัดระบบการนิเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับรองลงไปคือ ทัศนคติด้านการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการบันทึกอยู่ในระดับดีมาก  ส่วนทัศนคติต่อการปฏิบัติการบันทึกทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง การบันทึกแบบฟอร์มสัญญาณชีพมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง แบบฟอร์มการให้ยาและแบบฟอร์มบันทึกการพยาบาลมีการปฏิบัติการบันทึกอยู่ในระดับน้อย ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาความรู้ของพยาบาลเกี่ยวกับบันทึกทางการพยาบาลและพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการบันทึกทางการพยาบาล ส่วนทัศนคติด้านนโยบายมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน
            สมศรี  ลิ้มประสิทธิ์ (2550) ศึกษาเรื่องทัศนคติของบุคลากรในการเปลี่ยนระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ศึกษาเฉพาะกรณี หน่วยงานราชการในจังหวัดอุบลราชธานี  พบว่าทัศนคติของบุคลากรมีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนระบบการบริหารการเงินการคลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
            ชัชติกา  แม้ประสาท (2550)ศึกษาความรู้  ทัศนคติและการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ตามโครงการนำร่องของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ ราชบุรี  พบว่า ทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
             ปิตุภูมิ  ชุมภู.(2556).  การพัฒนาซอฟต์แวร์โมดูลรูปแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ หรือระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ MySQL เพื่อบันทึกข้อมูลผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ซึ่งช่วยให้ผู้ที่ใช้ข้อมูลเกิดความสะดวกสบาย และง่ายต่อการจัดการข้อมูลของผู้ดูแลระบบ(Admin) รูปแบบจะเป็นการซอฟต์แวร์ มาประยุกต์ใช้ตามหลักหลักการค้นคืนสารสนเทศ (Information Retrieval) และการตรวจสอบความคล้ายของสตริง (Levenshtein Distance) ซึ่งทดลองใช้ในกลุ่มเป้าหมาย 25 คน ส่วนใหญ่ เป็นแพทย์ จำนวน  10 คน รองลงมาคือ พยาบาล 7 คน อื่นๆนักศึกษาแพทย์ 3 คน เภสัชกร 1 คน และอื่นๆอีก 4 คน จากผลการทดลองใช้ซอฟต์แวร์โมดูล ส่วนใหญ่ใช้เพื่อการสืบค้นงานวิจัยซึ่งคำที่ใช้ในการสืบค้น จะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ป่วย และการประเมินผลการทำงาน พบว่า มีข้อจำกัดอยู่โดยเฉพาะความเร็วในการประมวลผล เมื่อเปรียบเทียบคำต่อคำ ซึ่งส่งผลให้การประเมินระดับความพึงพอใจได้แค่ปานกลาง ปัญหาอีกด้านของซอฟต์แวร์ คือระบบฐานข้อมูลที่ยังไม่รองรับกับระบบอื่น รวมทั้งการนำภาษาไทยมาใช้กับระบบยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรโดยเฉพาะคำสืบค้นบางคำจะสั้นเกินไป เช่นเด็กชายถูกตัดเป็นเด็กกับชาย” ทำให้การสืบค้นคำไม่ตรงกับความต้องการ ของผู้ใช้(User)ได้
            ศรีโสภา  ชัยทา.(2555).การบริหารทรัพยากรซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก คือ การวางแผน การลงทะเบียน การสนับสนุน การติดตาม และการประเมินผลการในการใช้งานทรัพยากรซอฟต์แวร์ ส่วนกระบวนการสำหรับจัดการทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่าสามารถปรับปรุงกระบวนการและระบบ ด้วยขั้นตอนการดำเนินงาน เริ่มจากพัฒนาโปรแกรม ทดสอบโปรแกรม ซึ่งประกอบด้วย ติดตั้งระบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ จัดทำคู่มือการใช้งานโปรแกรมสำหรับผู้ใช้งาน ตรวจสอบการทำงานของโปรแกรม ส่วนขั้นตอนการตรวจสอบออกแยกเป็น 3 ขั้นตอนคือ การทดสอบหน่วยย่อย มุ่งเน้นถึงการตรวจสอบความถูกต้องและข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายในโมดูลดำเนินการโดยผู้พัฒนาระบบ การทดสอบ ระบบสามารถทำงานโดยปราศจากข้อผิดพลาด และต้องมีความมั่นใจว่าการเชื่อมโยงและการส่งผ่านข้อมูลไปมาระหว่างโมดูลจะต้องทำงานอย่างถูกต้องและครบถ้วน ดำเนินการทดสอบโดยผู้พัฒนาระบบ โดยเลือกใช้วิธีแบบบนลงล่าง การทดสอบทั้งระบบ คือการทดสอบระบบทั้งหมดก่อนที่จะดำเนินการส่งมอบให้กับผู้ใช้งานจริง ในส่วนของกลุ่มผู้ทดสอบ ได้แก่ กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับระบบ ประกอบด้วย 1) เจ้าหน้าที่งานเวชสารสนเทศ 2) หน่วยงาน/ฝ่าย ที่ทำบันทึกขอใช้งานซอฟต์แวร์ หลังจากทำการทดสอบทั้งระบบเรียบร้อยแล้ว จะทำการทดสอบการยอมรับในระบบโดยให้กลุ่มผู้ทดลองใช้ระบบต้นแบบ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมผล เพื่อให้ทราบถึงความครบถ้วนของระบบที่ออกแบบและความพึงพอใจของผู้ใช้ โดยประเมินความพึงพอใจระบบด้านความถูกต้อง ด้านประสิทธิภาพ ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมากที่สุด ของซอฟต์แวร์ที่หน่วยงานตนเองรับผิดชอบได้ สร้างความพึงพอใจจากผู้ใช้เป็นอย่างมาก ด้วยการติดตั้งระบบใหม่
            วิภาพรรณ หมื่นมา.(2555). ได้ศึกษา การพัฒนาระบบฐานข้อมูลความเสี่ยงของโรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ระบบฐานข้อมูลประเภทผู้ใช้คนเดียว (single user database system) ระบบนี้มีข้อดี คือ ง่ายและสะดวกในการดูแลบำรุงรักษาและจัดการกับข้อมูล แต่มีข้อจำกัดคือ ข้อมูลไม่สามารถแบ่งปันกันใช้ ณ เวลาเดียวกันได้ ทำให้การใช้ข้อมูลไม่เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลเท่าที่ควร ส่วนระบบฐานข้อมูลประเภทผู้ใช้หลายคน (multi-user database system) เป็นระบบ ที่สนับสนุนการทำงานของผู้ใช้หลายคน ณ เวลาเดียวกัน มีหลายลักษณะเช่น ระบบฐานข้อมูลกลุ่มงาน (workgroup database system) ระบบฐานข้อมูลฝ่าย (department database system) ระบบฐานข้อมูลองค์การ (enterprise database system) ระบบนี้มีข้อดีคือ ข้อมูลสามารถแบ่งปันกันใช้โดยผู้ใช้หลายคน ณ เวลาเดียวกันได้ทำให้การใช้ข้อมูลเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล แต่มีข้อจากัดคือ การดูแลบำรุงรักษาและจัดการกับข้อมูลให้มีความถูกต้องครบถ้วนค่อนข้างซับซ้อน เนื่องจาก มีผู้ใช้หลายคนและหลายกลุ่ม
            รพีพร  ริมสุข.(2554). ปัจจุบันคอมพิวเตอร์สามารถนามาใช้ในการจัดการกับข้อมูลได้หลากหลายและจัดทำเป็นฐานข้อมูลได้ด้วยดังนั้นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดทำฐานข้อมูลการจำแนกประเภทผู้ป่วยอาจจะช่วยแก้ปัญหาในการจัดเก็บเอกสารได้ ระบบฐานข้อมูลอิเล็กโทรนิกถือเป็นสิ่งสาคัญสาหรับองค์การในปัจจุบัน ที่มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการปฏิบัติงานไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม และช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากการจัดเก็บข้อมูลจานวนมากลดการจัดเก็บเอกสาร ทำให้การทำงานการดูแลข้อมูลทำได้รวดเร็วและสะดวก ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถจัดการกับฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยตนเอง สามารถถ่ายโอนและใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน สามารถค้นหาและแสดงผลได้ทันทีที่ต้องการและช่วยสรุปสถิติรายงานผลสาหรับผู้บริหารได้ ซึ่งการจัดการระบบฐานข้อมูลนั้นอาศัยการจัดการข้อมูล (data management) มาช่วยจัดการกับปัญหาของข้อมูลในองค์การ ซึ่งมักมีสาเหตุมาจาก 1) มีการเพิ่มปริมาณของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง 2) มีการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เป็นระบบ 3) ขาดการจัดการปัญหาสำคัญ/วิกฤตที่เกิดกับการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เหมาะสม 4) เกิดการจัดเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน 5) ความต้องการข้อมูลจากแหล่งภายนอกเพิ่มขึ้น ซึ่งระบบฐานข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บและจัดการกับข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล จะช่วยให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน ผู้ใช้หลายคนสามารถแบ่งปันข้อมูลในการใช้งาน ณ เวลาเดียวกันได้
            วิไลภรณ์  ศรีไพศาล.(2553). ได้ศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูล.ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ผลการศึกษา การพัฒนาระบบฐานข้อมูล มีขั้นตอนกาดำเนินงาน ดังนี้ 1.) การวางแผนงาน/โครงการ เป็นขั้นตอนแรกใน การวางแผนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร
2.)การกำหนดขอบเขตการดำเนินงาน โดยพิจารณาความต้องการของผู้ใช้บริการ และวิเคราะห์โครงสร้างองค์กรและกระบวนการในการปฏิบัติงาน การแยกแยะกระบวนการในการปฏิบัติงานออกเป็นส่วนย่อย เพื่อหาคุณสมบัติ หน้าที่ และสภาพทั่วไปในการทำงาน 3.)การรวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการ(Requirement Collection and Analysis)  โดย กำหนดปัญหาและเงื่อนไขของผู้ใช้งานการรวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการ จะเป็นการนำขอบเขตการดำเนินการ มากำหนดรายละเอียดให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและแนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูล 4.)การออกแบบ (Design) ในการพัฒนาระบบงานประกอบด้วยการออกแบบระบบฐานข้อมูลและการออกแบบระบบงานประยุกต์มีปัจจัยสำคัญ คือ ความสามารถในการสรรหาวิธีเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบงานเดิม อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไป มี 2 วิธี คือ 4.1) การออกแบบจากล่างขึ้นบน (Bottom-up Design) เป็นการออกแบบฐานข้อมูลจากแนวคิดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานในหน่วยงานนั้นๆ การออกแบบฐานข้อมูลด้วยวิธีนี้จึงเป็นการออกแบบฐานข้อมูลเพื่อสร้างความเชื่อมโยงของโปรแกรมต่างๆขององค์กรเข้าด้วยกันเพื่อจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูลขององค์กร แต่มีข้อจำกัดคือ ต้องใช้เวลานาน เพราะมีหน่วยย่อยหลายหน่วยงานซึ่งอาจทำได้ยาก 4.2)การออกแบบฐานข้อมูลจากบนลงล่าง (Top-down Design) เป็นการออกแบบฐานข้อมูลด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร และความต้องการใช้งานฐานข้อมูล มีข้อจำกัด คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานฐานข้อมูลควรต้องเข้าใจให้ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งข้อดีของการออกแบบฐานข้อมูลด้วยวิธีนี้ คือ เป็นวิธีการออกแบบที่เหมาะกับการจัดวางระบบฐานข้อมูลในองค์กรที่มีความหลากหลายของหน่วยงาน
            สมหมาย ชาน้อย.(2558)ได้ศึกษาการบริหารที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดขอนแก่น พบว่า ปัจจัยทางการบริหาร มีความสัมพันธ์ระดับสูงทางบวกกับการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยบริการปฐมภูมิ(JHCIS) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัด ขอนแก่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.77, p-value < 0.001) และ ตัวแปรอิสระที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบ ฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยบริการปฐมภูมิ(JHCIS) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ (p-value< 0.008) ด้านเทคโนโลยี (p-value< 0.001) ด้านบุคลากร (p-value< 0.001) ด้านงบประมาณ (p-value= 0.002) ด้านเวลา (p-value< 0.005)ซึ่งตัวแปรอิสระทั้ง 5 ด้าน สามารถร่วมพยากรณ์การใช้ โปรแกรมระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยบริการปฐมภูมิ( JHCIS) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ได้ ร้อยละ 61.6 (r = 0.616, p-value < 0.001) ปัญหาอุปสรรคที่พบส่วน ใหญ่ เป็น ปัจจัยการบริหารด้านบุคลากร คือบุคลากรขาดความรู้และทักษะการใช้โปรแกรม ร้อยละ 66.99 และข้อเสนอแนะส่วน ใหญ่เป็นปัจจัยการบริหารด้านบุคลากร คือการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะในการใช้โปรแกรมอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 61.16
            สนธยา  วันชัย.(2554) ศึกษาการพัฒนาโปรแกรมระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารการเรียนการสอนและการวิจัย  พบว่า วิธีการแก้ไขปัญหาระบบการเรียนการสอนและการเก็บรวบรมเอกสารวิชาการรวมทั้งงานวิจัย ด้วยการนำระบบฐานข้อมูล มาเป็นเครื่องมือในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลผลการวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัย รวมทั้งการบริหาร การเรียนการสอนและการวิจัย สำหรับอาจารย์ นักศึกษาได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ซึ่งขั้นตอนในการดำเนินงาน คือ การสร้างโปรแกรมระบบฐานข้อมูล ประกอบด้วย ระบบฐานข้อมูลการบริหาร ระบบฐานข้อมูลการบริการ และระบบฐานข้อมูลงานวิจัย  และขั้นตอน การเผยแพร่ สืบค้น จากฐานข้อมูล
สมหมาย ชาน้อย.(2558)ได้ศึกษาการบริหารที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดขอนแก่น พบว่า ปัจจัยทางการบริหาร มีความสัมพันธ์ระดับสูงทางบวกกับการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยบริการปฐมภูมิ(JHCIS) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัด ขอนแก่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.77, p-value < 0.001) และ ตัวแปรอิสระที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบ ฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยบริการปฐมภูมิ(JHCIS) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ (p-value< 0.008) ด้านเทคโนโลยี (p-value< 0.001) ด้านบุคลากร (p-value< 0.001) ด้านงบประมาณ (p-value= 0.002) ด้านเวลา (p-value< 0.005)ซึ่งตัวแปรอิสระทั้ง 5 ด้าน สามารถร่วมพยากรณ์การใช้ โปรแกรมระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยบริการปฐมภูมิ( JHCIS) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ได้ ร้อยละ 61.6 (r = 0.616, p-value < 0.001) ปัญหาอุปสรรคที่พบส่วน ใหญ่ เป็น ปัจจัยการบริหารด้านบุคลากร คือบุคลากรขาดความรู้และทักษะการใช้โปรแกรม ร้อยละ 66.99 และข้อเสนอแนะส่วน ใหญ่เป็นปัจจัยการบริหารด้านบุคลากร คือการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะในการใช้โปรแกรมอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 61.16 2
คาสำคัญ: ฐานข้อมูลหน่วยบริการปฐมภูมิ (JHCIS), เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
        สรุป งานวิจัยในประเทศ ด้านความรู้และทัศนคติที่เกี่ยวกับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ได้มีผู้ศึกษาไว้หลายท่าน และกล่าวถึงการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยเฉพาะการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลสถานีอนามัยและหน่วยบริการปฐมภูมิ(JHCIS) ซึ่งจะสามารถดำเนินการได้ดีนั้น บุคลากรใน รพ.สต.ต้องมีองค์ความรู้ด้านการจัดการโปรแกรม JHCIS และควรมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้โปรแกรม ในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการใช้งานโปรแกรม ด้านระบบฐานข้อมูล ควรมีระบบ มีการวางแผน การดำเนินการ และมีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานด้านฐานข้อมูลโดยตรง ซึ่งในปัจจุบันผู้รับผิดชอบส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งไม่มีความรู้ ดังนั้นหากจะยังให้มีการจัดการข้อมูลเพื่อดำเนินการขององค์การ ก็สมควรที่จะจัดให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ในการใช้งานโปรแกรมและการพัฒนาระบบฐานข้อมูล แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และบุคลากรอื่น ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นประจำ

4.2   งานวิจัยต่างประเทศ
Klaus-Dieter Schewe_ and Qing Wangy.(2010). ได้ศึกษาการแปลงสถานะฐานข้อมูลแบบกำหนดเอง โดยการใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล Database-Abstract State Machines (DB-ASMS) และแสดงให้เห็นว่า DB-ASMS สามารถจัดการกับฐานข้อมูลทั้งหมดก่อนการเปลี่ยนแปลงได้ ถึงแม้แต่ละฐานข้อมูลจะมีความแตกต่างกัน ประโยชน์ที่ได้ คือสามารถแปลงฐานข้อมูลได้ตามข้อกำหนด(ตามสมติฐาน)แต่ยังมีข้อจำกัดด้านฟังก์ชั่นการทำงาน ของโปรแกรม DB-ASMS เนื่องจากฐานข้อมูลมีหลากหลายแบบ ทั้งนี้ Klaus-Dieter Schewe_ and Qing Wangy ได้อภิปรายไว้ในการแก้ปัญหาเพื่อลดข้อจำกัดดังกล่าว เช่น การปรับปรุงด้านโครงสร้างฐานข้อมูลหรือสถานะของข้อมูล  การนำรวมกลุ่มฐานข้อมูลและใช้มาตรฐานเดียวกันในการจัดการฐานข้อมูล และควรมีการเชื่อมโยงที่ดีระหว่างฐานข้อมูล
Burton Grad, Thomas J. Bergin. (2009).ได้เขียนหนังสือเรื่อง ระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMSs) และกล่าวถึงความสำคัญ และประโยชน์ของ DBMSs ต่อวงการ การพัฒนาซอฟต์แวร์ มาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ซึ่งระบบจัดการฐานข้อมูล ได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั้งด้านอุตสาหกรรมด้านซอฟต์แวร์ การออกแบบโปรแกรม และการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ที่สำคัญระบบการสื่อสารข้อมูลได้กลายเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการทุกภาค ส่วน ทั้งด้าน อุตสาหกรรมและหน่วยงานภาครัฐ ระบบผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์  DBMS จะช่วยในหลายด้าน เช่น การใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ ความทันเวลา สะดวกต่อการใช้งาน  เพิ่มประสิทธิภาพในการเขียนโปรแกรมนอกจากนั้น DBMSs ยังมีศักยภาพด้านอื่นๆด้วย ได้แก่ 1.) สามารกอินเตอร์เฟส (interphase) ตามค่ามาตรฐานสำหรับโปรแกรมการสื่อสารข้อมูลเพื่อการใช้งานและประมวลผลธุรกรรมออนไลน์ ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.)มีการจัดการฐานข้อมูลบนอุปกรณ์ต่างๆได้ โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมหรือแอพพลิเคชัน ที่ยุ่งยากหรือแตกต่าง 3.) รองรับหลายแพลตฟอร์ม(platfrom) ช่วยให้ลูกค้า ย้ายการใช้งานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งหรือไประบบปฏิบัติการอื่นได้อย่างง่ายดาย
สรุป งานวิจัยต่างประเทศ ได้กล่าวถึงการจัดการฐานข้อมูลด้วย โปรแกรม DBMS ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จะต้องมีหรือใช้คู่กันกับระบบฐานข้อมูล ซึ่งหากมีฐานข้อมูลแต่ไม่มีโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลก็ไม่สามารถใช้งานอะไรได้เลย และได้กล่าวถึงประโยชน์ในการใช้งานของโปรแกรม DBMS ในด้านอื่นๆอีกเช่น การแปลงฐานข้อมูล การรองรับในหลายแพลตฟอร์ม(platfrom) รองรับแอพพลิเคชัน(Application) และการนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม เช่นช่วยในการจัดการข้อมูลในการผลิต เป็นต้น
สรุป  จากการศึกษาและทบทวนแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้นำแนวคิดและทฤษฎีมาประยุกต์ใช้กับเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี ดังนี้คือ การนำแนวคิดทฤษฎี Codd E.F. (1970) หรือทฤษฎีฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ การศึกษาองค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.(2557) และจากการศึกษาคู่มือโปรแกรมระบบฐานข้อมูลของสถานีอนามัยและหน่วยปฐมภูมิ (JHCIS) ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.(2555) ซึ่งทำให้ได้รายละเอียดในการศึกษา ประกอบด้วย 1.) ด้านฮาร์ดแวร์(Hard ware)  2.) ด้านซอฟแวร์(soft ware) 3.)ด้านการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ทั้งนี้องค์ประกอบทั้ง 3 ด้านนี้จะเป็นตัวแปรตาม ส่วนตัวแปรต้นในการศึกษาจะเป็นปัจจัยด้านความรู้และทัศนคติ ซึ่งผู้วิจัยได้ประยุกต์ทฤษฎีด้านความรู้ของ เบนจามิน เอส บูม (Banjamin S. Bloom และคณะ ,1975)  และทฤษฎีด้านทัศนคติของ ลิเคอร์ท (Likert Scale,1932)   ซึ่งจากการทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้   พบว่ามีงานวิจัยที่ใกล้เคียงกับงานวิจัยเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน  3 เรื่อง คือ 1.)สมหมาย  ชาน้อย.(2558).หัวข้อ ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยบริการปฐมภูมิ(JHCIS) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น 2.)บุญสัน  อนารัตน์และคณะ.(2555).การพัฒนาระบบบริการโดยใช้โปรแกรม JHCIS ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาข่า  อำเภอท่าบ่อ  จังหวัดหนองคาย 3.) นิรันดร์ ถาละคร.(2554).ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลสถานีอนามัยและหน่วยบริการปฐมภูมิ(JHCIS) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัย จังหวัดหนองคาย การศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งทั้ง 3 งานวิจัยจะเป็นการศึกษาด้านการบริหารและการใช้งานโปรแกรมเป็นส่วนใหญ่แต่ไม่ได้ศึกษาการดำเนินงานระบบฐานข้อมูลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งมีองค์ประกอบ ด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล
ดังนั้น  ผู้วิจัยจึงประยุกต์งานวิจัยที่มีส่วนใกล้เคียงมากที่สุด ในการนำมาวิจัยและทำการศึกษาในครั้งนี้ 







บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง(Cross–Sectional Research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน4 จังหวัดอุดรธานี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยประยุกต์มาจากการทบทวนวรรณกรรม มีเนื้อหาที่ครอบคลุมตัวแปรที่ต้องศึกษา โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

               1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

               2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

               3. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ

               4. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

               5. การเก็บรวบรวมข้อมูล

                6. การพิทักษ์สิทธิ์ของกลุ่มตัวอย่าง

               7. การพิจารณาด้านจริยธรรมในมนุษย์

               8. การวิเคราะห์ข้อมูล


1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากร ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ บุคลากรสาธารณสุขปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน 4 จังหวัดอุดรธานี ไม่น้อยกว่า 1 ปี ในปีงบประมาณ 2557 จาก 4 อำเภอ จำนวนทั้งหมด 320   คน  รายละเอียด ดังนี้ อำเภอกุจับ จำนวน 89 คน อำเภอบ้านผือ  จำนวน  136  คน  อำเภอน้ำโสม จำนวน  54  คน  อำเภอนายูง จำนวน 41 คน รวม  320 คน

เกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย

1. เป็นบุคลากรสาธารณสุขปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน 4 จังหวัดอุดรธานี ไม่น้อยกว่า 1 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง
2. ยินดีและสมัครใจเข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้                                   

            การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ บุคลากรสาธารณสุขปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซน 4 จังหวัดอุดรธานี ไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยใช้สูตรในการคำนวณของ Daniel (2010) ในการเลือกตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด 320 คน โดยแทนค่าในสูตร Daniel (2010) ได้ดังนี้

                   n  =         Zα/22NP(1-P)

                            Zα/22 P(1-P)+ (N-1)d2  

                   n  =   ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการ

               Zα/2      =   ค่าสถิติมาตรฐาน จากตาราง Z ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05  เท่ากับ 1.96

                   N  =   จำนวนประชากรในการศึกษา

                   P  =   0.69 (อัตราที่ต้องการหาจากการศึกษาเรื่องปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยบริการปฐมภูมิ(JHCIS) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น พบว่า ปัจจัยการบริหารด้านบุคลากร คือบุคลากรขาดความรู้และทักษะการใช้โปรแกรมอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 67 (สมหมาย ชาน้อย,2558)

                   d  =   ค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดที่ผู้วิจัยยอมให้เกิดได้สูงสุดเท่ากับ 0.05

        แทนค่าในสูตร  

       

               n       =         ( 1.96 )2 x 320 x 0.67x (1-0.67)

                                            ( 1.96 )2 x 0.67(1-0.67) + (320-1) x (0.05) 2      

                                                        =      165        คน
            จากการคำนวณจะได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน  165 คน เพื่อป้องกันการสูญหายของกลุ่มตัวอย่าง หรือความผิดพลาดจากการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยจึงทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง เพิ่มอีก 10 เปอร์เซ็นต์ รวมในการทำวิจัยครั้งนี้ต้องใช้ขนาดตัวอย่าง   197   คน

การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง

           คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ( Cluster Random Sampling )  โดยมีขั้นตอน ดังนี้

               ขั้นที่ 1  แบ่งการศึกษาเขตในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โซน4 จำนวน 4 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอกุดจับ อำเภอบ้านผือ อำเภอน้ำโสม อำเภอนายูง

               ขั้นที่ 2  จับฉลากอย่างง่าย ( Simple Random Sampling )  จำนวนเจ้าหน้าที่  4  อำเภอ   

               ขั้นที่ 3  ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  ได้จากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของแต่ละอำเภอ  โดยใช้สูตรคำนวณขนาดตัวอย่างที่ทราบค่าประชากร  เพื่อประมาณค่าสัดส่วนของประชากรโดยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์  ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้  เท่ากับ 197 คน

 

ภาพประกอบ 2  จำนวนประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามอำเภอในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพโซน4





การจำแนกตามอำเภอในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพโซน4




 




















2. เครื่องมือที่ใช้ในการในการวิจัย 
  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionaire) โดยแบบสอบถามนี้ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นจากการประยุกต์มาจากการทบทวนวรรณกรรม มีเนื้อหาที่ครอบคลุมตัวแปรที่ต้องการศึกษา ทั้งหมด 4 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานในปัจจุบัน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาในการใช้งานโปรแกรมระบบฐานข้อมูล มีทั้งหมด 7 ข้อ
ส่วนที่ 2  แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  โดยใช้แบบสอบถามลิเคอร์ท ( Likert. 1970 : 150 – 151 )  เป็นการวัดความรู้  มีการทบทวนเอกสารประยุกต์แบบสอบถาม  มีทั้งหมด  10  ข้อ  โดยการนำเอาข้อความที่ใช้วัดความรู้ให้ผู้ตอบ ลงความเห็นว่ามีความรู้สึกต่อข้อความเหล่านั้นอย่างไรบ้าง เช่น ใช่ หรือไม่ใช่ แล้วกำหนดคะแนน 1และ0 ตามลำดับ เป็นข้อความทางบวก ( Positive statement ) และ 1 2 3 4 5 เป็นข้อความทางลบ ( Negative Statement ) จากนั้นนำข้อความทั้งหมดไปวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนก ( Item Analysis ) โดยเลือกข้อความที่สามารถจำแนกกลุ่มที่มีความรู้ที่ดี และความรู้ที่ไม่ดี  เพื่อนำไปใช้วัดความรู้ต่อไป

             ถ้าเป็นข้อความทางบวกให้คะแนนดังนี้          ถ้าเป็นข้อความทางลบให้คะแนนดังนี้

               มากที่สุด          ให้  5  คะแนน              มากที่สุด            ให้  1  คะแนน

               มาก               ให้  4  คะแนน              มาก                  ให้  2  คะแนน

               ปานกลาง        ให้  3  คะแนน              ปากลาง             ให้  3  คะแนน

               น้อย              ให้  2  คะแนน              น้อย                 ให้  4  คะแนน

               น้อยที่สุด         ให้  1  คะแนน              น้อยที่สุด            ให้  5  คะแนน

   เกณฑ์การแปลผลประยุกต์แนวความคิดBenjamin S. Bloomสามารถจัดได้ดังนี้

                น้อยกว่าร้อยละ 60 ( 15 – 44  คะแนน )      ความรู้ระดับน้อย

                ร้อยละ 60 – 79 ( 45 – 59 คะแนน)          ความรู้ระดับปานกลาง

                ร้อยละ 80 ขึ้นไป  ( 60 – 75 คะแนน)         ความรู้ระดับมาก







ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติต่อระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีทั้งหมด 10 ข้อ มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ของลิเคอร์ท ( Likert scale) โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
             ถ้าเป็นข้อความทางบวกให้คะแนนดังนี้         ถ้าเป็นข้อความทางลบให้คะแนนดังนี้

               มากที่สุด          ให้  5  คะแนน              มากที่สุด            ให้  1  คะแนน

               มาก               ให้  4  คะแนน              มาก                  ให้  2  คะแนน

               ปานกลาง        ให้  3  คะแนน              ปากลาง             ให้  3  คะแนน

               น้อย              ให้  2  คะแนน              น้อย                 ให้  4  คะแนน

               น้อยที่สุด         ให้  1  คะแนน              น้อยที่สุด            ให้  5  คะแนน

   เกณฑ์การแปลผลประยุกต์แนวความคิดBenjamin S. Bloomสามารถจัดได้ดังนี้
          น้อยกว่าร้อยละ 60 (1-59คะแนน)                    การรับรู้ระดับน้อย
          ร้อยละ 60-79 (60-79คะแนน)              การรับรู้ระดับปานกลาง
          ร้อยละ 80 ขึ้นไป (80-100คะแนน)         การรับรู้ระดับมาก
                            
ตอนที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบด้วย (1) ด้านฮาร์ดแวร์   (2) ด้านซอฟแวร์   (3) การดำเนินงานระบบฐานข้อมูล มีทั้งหมด 30 ข้อ โดยคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ของลิเคิร์ท (Likert scale) มีคำตอบให้เลือกตอบ 5 ระดับ (5, 4, 3, 2, 1) โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้  

               ถ้าเป็นข้อความทางบวกให้คะแนนดังนี้       ถ้าเป็นข้อความทางลบให้คะแนนดังนี้

               มากที่สุด          ให้  5  คะแนน              มากที่สุด            ให้  1  คะแนน

               มาก               ให้  4  คะแนน              มาก                  ให้  2  คะแนน

               ปานกลาง        ให้  3  คะแนน              ปากลาง             ให้  3  คะแนน

               น้อย              ให้  2  คะแนน              น้อย                 ให้  4  คะแนน

               น้อยที่สุด         ให้  1  คะแนน              น้อยที่สุด            ให้  5  คะแนน

  เกณฑ์การแปลผลประยุกต์แนวความคิดBenjamin S. Bloomสามารถจัดได้ดังนี้
            น้อยกว่าร้อยละ 60 (1-104คะแนน)        การบริหารระดับน้อย
          ร้อยละ 60-79 (105-139คะแนน)          การบริหารระดับปานกลาง
          ร้อยละ 80 ขึ้นไป (140-175คะแนน)       การบริหารระดับมาก

                 
3. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
           เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม โดยมีขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ ดังนี้
               3.1 กำหนดเนื้อหาและจุดมุ่งหมายของงานวิจัยที่จะศึกษา โดยการศึกษาค้นคว้าจากตำรา แนวคิด ทฤษฎี ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะได้กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ตรงตามจุดมุ่งหมาย
               3.2 นำเนื้อหาและตัวชี้วัดที่ได้จากการศึกษาจากตำรา แนวคิด ทฤษฎีทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์และดัดแปลงเป็นข้อคำถาม เสร็จแล้วนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นมาไปหาความสัมพันธ์ของเนื้อหา
               3.3 นำแบบสอบถามที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ไปทดลองใช้ กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 30 ราย เพื่อทดสอบความเข้าใจต่อข้อคำถามของแบบสอบถามและนำผลที่ได้มาคำนวณหา ความเชื่อมั่น และคำนวณค่าสถิติที่ชี้คุณภาพ และการปรับปรุงข้อความจนกว่าจะมีคุณภาพเข้าขั้นมาตรฐานเพื่อนำไปใช้จริงในการเก็บข้อมูล

4. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
  การหาความตรงของเนื้อหา  (Content validity )  ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปหาความตรงเชิงเนื้อหา  โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ  จำนวน  3  ท่าน  ประกอบด้วย
  1) ดร.สุทธินันท์ สระทองหน วุฒิปรัชฌาดุษฎีบัณทิต (สาธารณสุขศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กลุ่มงานคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
3) นายอุเทน หาแก้ว วุฒิสาธารณสุขศาสตรมหาบัณทิต วิทยาการระบาด มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
2) นางสาวอัปสร   วงษ์ศิริ วุฒิสาธารณสุขศาสตรมหาบัณทิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเนื้อหา จากนั้นนำมาหาค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content validity) โดยตรวจสอบทางด้านคุณภาพของรายละเอียดในประเด็นต่างๆ ของประเด็นคำถามเพื่อปรับปรุงแก้ไขแล้วนำมาคำนวณค่าดัชนีความตรงของเนื้อหา โดยมีค่าที่ยอมรับได้มากกว่า 0.5
        การหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ( Reliability )  ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขไปทดลองใช้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อำเภอหนองเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 30 ราย เพื่อทดสอบความเข้าใจต่อข้อคำถามของแบบสอบถามและนำผลที่ได้มาคำนวณหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือจากนั้นนำมาวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ  โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค  ( Cronbach’s  Alpha Coefficient )  ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ด้านความรู้กับการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล เท่ากับ 0.75 ด้านทัศนคติกับการจัดการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล เท่ากับ 0.83 และด้านการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล  เท่ากับ 0.82  ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เท่ากับ 0.78
        5. การเก็บรวบรวมข้อมูล
           ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูล  โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
           1. ผู้วิจัยนำหนังสือขออนุญาตดำเนินการศึกษาจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย เพื่อขออนุญาตทำการเก็บข้อมูลในการวิจัย
           2. ทำหนังสือถึงสาธารณสุขอำเภอกุดจับ บ้านผือ น้ำโสม และนายูง เพื่อขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูลภายหลังได้รับการอนุญาตแล้วผู้วิจัยเข้าพบสาธารณสุขอำเภอทั้ง 4 แห่ง เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล และขอความอนุเคราะห์ในการเก็บข้อมูล
           3. จัดหาผู้ช่วยเก็บข้อมูล โดยเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ   ที่มีความรู้เรื่องการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล สามารถทำความเข้าใจ จำนวน 8 คน และชี้แจงแบบสอบถามให้ทราบโดยละเอียด ผู้ช่วยเก็บข้อมูลทุกคนปฏิบัติได้ตามแนวทางเดียวกัน
           4. ผู้วิจัยและผู้ช่วยเก็บข้อมูล เข้าพบกลุ่มตัวอย่างตามที่สุ่มได้ หลังจากนั้นแนะนำตัว ชี้แจงวัตถุประสงค์และขออนุญาตในการให้ตอบแบบสอบถามพร้อมทั้งชี้แจงการพิทักษ์สิทธิ
           5. เมื่อกลุ่มตัวอย่างอนุญาต ผู้วิจัยและผู้ช่วยเก็บข้อมูลแจกแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่าง อธิบายให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษาและอธิบายถึงวิธีการตอบคำถาม และเปิดโอกาสให้ซักถาม หลังจากนั้นให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง และรวบรวมแบบสอบถามคืนทันที   
           6. ผู้วิจัยและผู้ช่วยเก็บข้อมูลตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของแบบสอบถามก่อนนำไปวิเคราะห์
           7. นำข้อมูลที่ได้มาคิดคะแนนและวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติต่อไป
        6. การพิทักษ์สิทธิ์ของกลุ่มตัวอย่าง
           การวิจัยในครั้งนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น  ในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรม  เมื่อวันที่  ........... ตามรหัสโครงการเลขที่  ............แล้วจึงดำเนินการวิจัย  โดยผู้วิจัยเข้าพบกลุ่มตัวอย่างเพื่อแนะนำตัวเอง  ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการศึกษาและขั้นตอนการเก็บรวบรวมของข้อมูล  ให้กลุ่มตัวอย่างทราบเพื่อขอความร่วมมือในการเข้าร่วมการวิจัยด้วยความสมัครใจของกลุ่มตัวอย่าง  โดยมีอิสระในการเข้าร่วมและถอนตัวจากการวิจัยได้ตลอดเวลา  ข้อมูลทั้งหมดผู้วิจัยจะนำไปวิเคราะห์ในการศึกษาเท่านั้น จะเก็บเป็นความลับและนำผลการวิจัยเสนอในภาพรวมทางวิชาการเท่านั้น  โดยไม่มีผลกระทบหรือเกิดความเสียหายใดๆ  กับกลุ่มตัวอย่างหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
        7. การพิจารณาด้านจริยธรรมในมนุษย์
           การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้พิทักษ์กลุ่มตัวอย่าง ดังนี้
               1. ชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมวิจัยทราบถึงวิธีการ และตอบข้อข้องใจต่างๆ รวมถึงประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นขณะทำการวิจัย
               2. การเข้าร่วมโครงการวิจัย ผู้ยินยอมตนจะเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ และต้องได้รับความยินยอมตนทุกราย โดยลงนามในเอกสารยินยอมตนเป็นลายลักษณ์อักษร
               3. ผู้ยินยอมตนสามารถบอกเลิกการเข้าร่วมโครงการวิจัยได้ทุกเมื่อ โดยไม่ต้องอธิบายเหตุผล มีสิทธิ์ปฏิเสธหรือเลือกที่จะไม่ตอบคำถามในแบบสอบถามข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ โดยไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อผู้ยินยอมตนทั้งสิ้น
               4. การรักษาความลับของข้อมูลโครงการวิจัยนี้เป็นการให้ผู้ยินยอมตอบแบสอบถาม จะไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้ยินยอมตน โดยหลังจากที่ผู้ยินยอมตนลงนามในใบยินยอมตนแล้ว ผู้วิจัยจะแยกใบยินยอมตนออกจากแบบสอบถามไว้คนละส่วนกัน เพื่อป้องกันการเชื่อมโยงกันของแบบสอบถามกับใบยินยอมตนให้ทำการวิจัย เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะภาพรวม โดยเหตุผลทางวิชาการเท่านั้น และไม่นำข้อมูลหรือความลับของกลุ่มตัวอย่างมาเปิดเผยหรือนำเสนอผลการวิจัยเป็นรายบุคคล ส่วนข้อมูลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัยจะไม่มีการเปิดเผยทั้งสิ้น
        8. การวิเคราะห์ข้อมูล
           ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล และได้กำหนดระดับนัยสำคัญที่ ระดับ 0.05 มีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และประมวลดังนี้
               1. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) เพื่อสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาใช้ในการบรรยาย ลักษณะของข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปแบบของตาราง
               2. สถิติเชิงวิเคราะห์ (Analysis Statistic) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานในปัจจุบัน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาในการใช้งานโปรแกรม ความรู้ ทัศนคติ และการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและไควสแควร์
























































































































































































































































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น